Molecular tracing of confiscated otters for monitoring and combating illegal trade in Southeast Asia


Principal Investigator


Co-Investigators

No matching items found.


Other Team Members


Project details

Start date01/10/2020

End date30/09/2021


Abstract

การลักลอบค้าสัตว์ป่าเป็นภัยคุกคามระดับนานาชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อประชากรสัตว์ป่า จนอาจนําไปสู่ การสูญพันธุ์และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ที่มีความสําคัญต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนากใหญ่ขนเรียบ (Lutrogale perspicillata) และนากเล็กเล็บสั้น (Aonyx cinereus) ซึ่งประเทศไทยและอินโดนีเซียถูกประเมินว่าเป็นต้นทางการลักลอบค้านากเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดสัตว์เลี้ยงต่างถิ่นที่แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลด้านขอบเขตของปัญหาและแหล่งที่มาของนากที่ถูกลักลอบจับจากประชากรในธรรมชาติ เมื่อผนวกกับภัยคุกคามจากการการสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นถิ่นอาศัยสําคัญและความขัดแย้งระหว่างคนกับนาก ทําให้นากทั้งสองชนิดมี แนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ส่วนเสือปลา (Prionailurus viverrinus) ซึ่งเป็นสัตว์ผู้ล่าที่มีการใช้พื้นที่ทับซ้อนกับพื้นท่ี อาศัยของมนุษย์และความขัดแย้งที่อาจนําไปสู่การลักลอบจับออกจากพื้นที่นั้นมีโอกาสที่จะสูญพันธุ์เช่นเดียวกัน การหายไปของสัตว์ผู้ล่าสูงสุดในห่วงโซ่อาหาร (top predator) อาจส่งผลต่อโครงสร้างประชากรเหยื่อ วัฏจักรการสะสมและเปลี่ยนแปลงธาตุอาหาร คุณภาพน้ำ และความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ชุ่มน้ำ

การประยุกต์ใช้เทคนิคด้านอณูชีววิทยาเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลพันธุศาสตร์ระดับประชากรของนากทั้งสองชนิดในธรรมชาติจึงมีความจําเป็นเร่งด่วนต่อการวางแผนฟื้นฟูประชากรนากและเสือปลา ตลอดจนการจัดการระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทําฐานข้อมูลเปรีียบเทียบความหลากหลายทางพันธุกรรมเชิงพื้นที่ด้วยเครื่องหมายไมโทคอนเดรียครบวง (mitogenome) และ microsatellite genotypes ของประชากรในธรรมชาติจากประเทศไทยและอินโดนีเซีย เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงและเพิ่มความแม่นยําในการระบุที่มาของนากและเสือปลาจากการลักลอบค้า ตลอดจนเป็นฐานข้อมูลเพื่อ คัดเลือกประชากรตั้งต้นที่เหมาะสมจากสถานเพาะเลี้ยงและเพิ่มโอกาสความสําเร็จในการปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติในอนาคต

ฐานข้อมูลทางพันธุศาสตร์นี้จะเสริมสร้างความเข้าใจในทุกมิติของปัญหาการค้านาก การวางนโยบาย เพื่อยกระดับมาตรฐานการป้องกันและปราบปรามการค้าสัตวป่าผิดกฎหมายของประเทศ และเพิ่มศักยภาพของ สถาบันการศึกษาไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรอนุรักษ์สัตว์ผู้ล่าขนาดเล็ก นอกจากนี้ระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกพัฒนาขึ้นจะเป็นต้นแบบที่สามารถประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพวิธีการตรวจสอบแหล่งที่มา การระบุพื้นที่ ที่มีความสําคัญต่อการอนุรักษ์ที่ต้องการการจัดการเร่งด่วน (Conservation hotspot) และการจัดการฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ชนิดอื่นต่อไป


Keywords

  • Aonyx cinereus
  • illegal wildlife trade
  • Lutrogale perspicillata
  • microsatellite genotype and mitogenome
  • Prionailurus viverrinus


Strategic Research Themes


Publications

No matching items found.


Last updated on 2025-10-01 at 13:14