โครงการวิจัยศึกษาลักษณะแนวความคิดในการเรียนรู้ที่สามารถป้องกันผลกระทบเชิงลบของความยากจนต่อพัฒนาการของสมองที่ใช้ในการคุมความสนใจ ความคิดเชิงบริหาร และการประมวลผลรางวัลในวัยรุ่นตอนกลาง


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/05/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/04/2022


คำอธิบายโดยย่อ

รูปแบบของแนวความคิดส่งผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดแรงจูงใจและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา แนวความคิดอยู่กับที่สามารถขัดขวางผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในขณะที่แนวความคิดก้าวหน้าสามารถก่อให้เกิดผลเชิงบวกต่อสมรรถภาพทางการศึกษา นอกจากนี้ความยากจนและเศรษฐ์สถานะก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อโอกาสและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กและเยาวชน งานวิจัยทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์พบว่ารูปแบบของแนวความคิดและเศรษฐ์สถานะนั้นมีผลต่อการพัฒนาของกลไกทางประสาทที่ใช้ในการควบคุมความสนใจ ความคิดเชิงบริหาร และกระบวนการประมวลผลรางวัล แต่ทว่าปัจจุบันยังขาดองค์ความรู้ว่ารูปแบบของแนวความคิดและเศรษฐ์สถานะมีผลกระทบร่วมกันในการปรับสมดุลของแรงจูงใจภายในและภายนอกต่อการเปลี่ยนแปลงพัฒนากลไกทางประสาทเหล่านี้โดยเฉพาะในเยาวชนที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนกลาง (14-17 ปี) ซึ่งเป็นช่วงอายุที่สมองส่วนหน้าที่ใช้ในการควบคุมความสนใจและความคิดเชิงบริหารยังเจริญไม่เต็มที่และฐานสมองซึ่งมีบทบาทในการการประมวลผลรางวัลมีความไวในการตอบสนองต่อรางวัลและสิ่งเร้าสูงมากกว่าช่วงวัยอื่น ข้าพเจ้าจึงขอเสนอโครงการวิจัยเพื่อที่จะศึกษาลักษณะแนวความคิดในการเรียนรู้ที่สามารถป้องกันผลกระทบเชิงลบของความยากจนต่อกลไกประสาทที่ใช้ในการควบคุมความสนใจ ความคิดเชิงบริหาร และการประมวลผลรางวัลในสมองของเยาวชนวัยรุ่นตอนกลาง ข้าพเจ้าตั้งสมมติฐานว่าความไวของสมองที่สูงเกินไปในการตอบสนองต่อแรงจูงใจภายนอกสามารถส่งผลเชิงลบต่อกลไกประสาทที่สนับสนุนแรงจูงใจภายใน ผลเชิงลบนี้เกิดมากอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่มีเศรษฐ์สถานะต่ำ อย่างไรก็ตามการมีแนวความคิดก้าวหน้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างสมดุลให้แก่อิทธิพลของการปรับเปลี่ยนแรงจูงใจภายในและภายนอกที่มีต่อทักษะด้านการควบคุมและการคิดเชิงบริหารและกระบวนการประมวลผลรางวัลในสมองมนุษย์ช่วงวัยรุ่น ส่งผลให้สมองแก้ไขปัญหาและปรับตัวต่อความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพนำไปสู่การก้าวข้ามความท้าทายในการพัฒนาการเรียนรู้ที่เกิดจากขาดโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจะถูกใช้ในการพัฒนาเครื่องมือต้นแบบที่ใช้ในการพัฒนาทักษะด้านการคิดเชิงบริหารและกระบวนการที่ควบคุมแรงจูงใจของนักเรียนนักศึกษามีแนวความคิดและเศรษฐ์สถานะต่างกันไป และเมื่อนำมาต่อยอดใช้จริงให้เป็นวงกว้างขึ้นจะเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้เยาวชนไทยมีแนวความคิดก้าวหน้าในการเรียนรู้มากขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามากขึ้น และช่วยทำให้ช่องว่างทางการศึกษาที่เกิดจากความยากจนและความแตกต่างระหว่างเศรษฐ์สถานะของประชากรไทยลดลง


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-08-07 ถึง 14:10