Strategic transformation of management & governance for Thailand's Science Park Organization
Principal Investigator
Co-Investigators
No matching items found.
Other Team Members
Project details
Start date: 20/05/2021
End date: 30/11/2021
Abstract
อุทยานวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยเริ่มเปิดให้บริการแห่งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 ใช้ชื่อว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเป็นหน่วยงานดำเนินการ ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในปัจจุบัน) ดำเนินโครงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ โครงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และโครงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2547 – 2552 โดยมีหน่วยงานในสังกัด วท. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ซึ่งพบว่าการบริหารจัดการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคยังเป็นการดำเนินงานแบบแยกส่วน และควรให้การบริการจัดการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคในภาพรวมมีทิศทางและแนวทางที่มีเอกภาพ วท. ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔ เห็นชอบแนวทางการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ โดยให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่ในการบริหารจัดการอุทยานวิทยาศาสตร์ ซึ่งในระยะต้นควรมีโครงสร้างการดำเนินงานที่มีมหาวิทยาลัยเป็นแกนหลักในการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ที่มีส่วนร่วมในการบริหารอุทยานวิทยาศาสตร์ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๔ กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สป.วท.) (สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สป.อว. ในปัจจุบัน) มอบหมายหน่วยงานในสังกัดทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) และให้ สอว. มีอำนาจหน้าที่จัดทำร่างแผน แนวทาง และเกณฑ์ในการพัฒนาและสนับสนุนกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ จัดให้มีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการกำหนดแผนงาน มาตรการ และกิจกรรมเพื่อส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ จัดให้มีสิ่งจูงใจที่เหมาะสม ให้ความรู้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ดำเนินกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการจัดตั้งและดำเนินงานกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ รวมถึง ประสานงานให้เกิดเครือข่ายและความร่วมมือในการดำเนินกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ และติดตามประเมินผลการดำเนินงาน รวมถึง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง) พร้อมกรอบวงเงินงบประมาณดำเนินการ ซึ่ง สป.อว. ทยอยได้รับจัดสรรงบประมาณดำเนินการ ภายใต้โครงการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (นิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ จนถึงปัจจุบัน
สป.อว. โดย สอว. ได้ดำเนินภารกิจการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคที่ดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคได้ดำเนินงานและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานมีความก้าวหน้ามาเป็นลำดับ มีการเชื่อมโยงองค์ความรู้ งานวิจัยพัฒนา เทคโนโลยี และนวัตกรรม จากมหาวิทยาลัยไปสู่การใช้ประโยชน์โดยภาคเอกชน ชุมชนและสังคมในพื้นที่ รวมถึง มีการใช้ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานในการส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่และสนับสนุนให้เกิดการสร้างนวัตกรรม อย่างไรก็ตาม ได้มีการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยควบรวมหน่วยงานและภารกิจด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัย เข้าด้วยกัน และมีการจัดโครงสร้างองค์กรของ สป.อว. ให้สอดคล้องกับการควบรวมภารกิจดังกล่าว ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัด สป.อว. โดยงานอุทยานวิทยาศาสตร์จะรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ภายใต้กลุ่มภารกิจด้านการส่งเสริม พัฒนา และการใช้ประโยชน์ระบบนิเวศ ววน. ของ สป.อว. ดังนั้น จึงมีความจำเป็น ต้องทบทวนบทบาทหน้าที่และแนวทางในการกำกับดูแลอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคในภาพรวม รวมถึง ศึกษารูปแบบและแนวทางในการผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และบริบทการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ
Keywords
No matching items found.
Strategic Research Themes
Publications
No matching items found.