โครงการขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของชุมชนชาติ พันธ์ุไทยกะเหรี่ยง บริเวณแถบเทือกเขาตะนาวศรี จังหวัดราชบุรี (ตําบลสวนผึ้งและ ตะนาวศรี)


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ15/05/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ14/08/2022


คำอธิบายโดยย่อ

1.    บทสรุปผู้บริหาร(สรุปเป้าหมายและวัตถุประสงค์วิธีดำเนินงานวิจัยและการขับเคลื่อนผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)

      โครงการขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชนชาติพันธุ์ไทยกะเหรี่ยง บริเวณแถบเทือกเขาตะนาวศรี จังหวัดราชบุรี (ตำบลสวนผึ้งและตะนาวศรี) นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านองค์ความรู้พื้นฐาน การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจฐานรากของพื้นที่ต่างๆในประเทศไทย เป็นการพัฒนาจากฐานทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และฐานทุนศิลปะวัฒนธรรมของประเทศ ซึ่งทุนทางศิลปะวัฒนธรรมเป็นทุนที่สำคัญ อาศัยรากเหง้าของประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ และสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ที่นำไปสร้างคุณค่าเป็นคุณค่าใหม่และมูลค่าเพิ่มและย้อนกลับสู่การอนุรักษ์และรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

(1)  เพื่อวิจัยสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมในพื้นที่เป้าหมายและนำไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่สร้างผลกระทบต่อการพัฒนาพื้นที่ในมิติต่าง ๆ

(2)  เพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือทำให้เกิดแผนที่ทางวัฒนธรรม (Cultural mapping)และแผนความร่วมมือ (cooperative plan)กับภาคีในพื้นที่เป้าหมาย

(3)  เพื่อวิจัยและพัฒนาให้เกิดการสร้างผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนทางวัฒนธรรมในพื้นที่

(4)  เพื่อสร้างฐานและหนุนเสริมองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมตลอดจนส่งเสริมการจัดการองค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน

      การศึกษามีการออกแบบระเบียบวิธีวิจัยแบ่งการดำเนินการเป็น 4 ระยะดังนี้

      ระยะที่ 1     การตั้งโจทย์และการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลอย่างมีส่วนร่วมสำหรับการสร้างแผนที่ทางวัฒนธรรม (Cultural mapping)และการอบรมทักษะการจัดการข้อมูลวัฒนธรรมชุมชนให้กับเยาวชนในพื้นที่

      ระยะที่ 2     การผลิตสื่อเพื่อการจัดการข้อมูลองค์ความรู้เชิงวัฒนธรรมและเพื่อการสื่อสารสู่สาธารณะ

      ระยะที่ 3     การวิเคราะห์ข้อมูล และสังเคราะห์แนวคิดในการดำเนินกิจการทางวัฒนธรรม

      ระยะที่ 4     การรวมกลุ่มและอบรมทักษะเบื้องต้นสำหรับการเป็นผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรม 

      ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การพัฒนากลไกความร่วมมือให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อจัดทำแผนที่วัฒนธรรม (Cultural Mapping) ที่เกิดจากความร่วมมือของภาคเครือข่าย(Cooperation) ที่มีการวางแผนและดำเนินการร่วมกัน (CooperationPlan)ในรูปแบบ Big Dataโดยการสร้างกิจกรรม การสำรวจ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการพร้อมการตรวจสอบข้อมูลเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป การสร้างฐานและหนุนเสริมองค์ความรู้การอบรมเพื่อติดอาวุธทางความรู้ในการรับรู้ การเข้าใจ ด้านคุณค่าทางวัฒนธรรมตนเอง เพื่อให้เกิดความรัก ความหวงแหน และเพื่อการอนุรักษ์ต่อไปให้กับกลุ่มเยาวชนและคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ การนำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอด สร้างเรื่องราว สร้างคุณค่า และสร้างมูลค่าในผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อไป การนำทุนวัฒนธรรมมาพัฒนานวัตกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ สินค้าชุมชุมที่มีเอกลักษณ์ การท่องเที่ยวชุมชนด้านสินค้าและการบริการ เกิดการพัฒนาผู้ประกอบเดิม และการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Cultural Entrepreneur)เกิดการพัฒนาในพื้นที่ เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน (Circular Economy) โดยการวิเคราะห์ศักยภาพการตลาดของ Culture Assets ในชุมชนจนสามารถสร้างเครื่องมือเพื่อการนำเสนอและประชาสัมพันธ์ ด้วยคำแนะนำจากนักออกแบบ ผู้เชี่ยวชาญ และภาคีเครือข่ายในศาสตร์ต่าง ๆ อย่างจริงจังและยั่งยืนต่อไป


คำสำคัญ

  • community enterprised


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-30-06 ถึง 21:09