การพัฒนาระบบอาหารของประเทศไทย: การวางภาพกรอบระบบอาหารและ การวิเคราะห์และพัฒนาระบบอาหารส่วน "การค้า การกระจายและการบริการอาหาร"


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ28/07/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ27/07/2022


คำอธิบายโดยย่อ

จากความสำคัญของระบบอาหารที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ความเกี่ยวข้องกับปัจจัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนจำนวนมาก ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ทั้งในมิติประเภทผลิตภัณฑ์และมิติกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งได้รับการคาดหวังให้มีการพัฒนาระบบอาหารในหลายมิติ ซึ่งจะนำไปสู่การมีระบบอาหารที่ยั่งยืนและเป็นภาคส่วนที่สนับสนุนการพัฒนาประเทศในระยะยาว จึงทำให้การกำหนดและตัดสินใจเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและความร่วมมือกับภาคเอกชนและประชาชนจะต้องมองภาคส่วนนี้ด้วยวิธีคิดเชิงระบบ (System Approach) กล่าวคือ การมองระบบอาหารว่าเป็นระบบใหญ่ที่ประกอบด้วยระบบย่อยที่มีองค์ประกอบสำคัญที่ชัดเจน เช่น องค์ประกอบตามกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่า องค์ประกอบตามทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่เป็นทั้งปัจจัยนำเข้าและสภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่า องค์ประกอบทางนโยบายภาครัฐที่สนับสนุน เช่น กฎระเบียบ การพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม การค้าและการลงทุน ตลอดจนองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงสร้างประชากรและขีดความสามารถของเกษตรกรและผู้ประกอบการ ฯลฯ เป็นต้น และวิธีคิดเชิงระบบยังทำให้เกิดการมองและวิเคราะห์ประเด็น สถานการณ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นระบบ มีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในระบบย่อย ๆ ดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม และมั่นใจว่ามองได้อย่างครบถ้วนและรอบด้าน ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องได้รับการวิเคราะห์และประมวลมาเป็นภาพระบบอาหารของประเทศ (National Food Systems Framework)

การออกแบบ กำหนดและตัดสินใจเชิงนโยบายที่ตั้งอยู่บนวิธีคิดเชิงระบบ (System Approach) จึงเป็นฐานคิดที่สำคัญในด้านนโยบาย และภาพระบบอาหารประเทศไทย (Thailand’s Food Systems Framework) จะเป็นเครื่องมือในการบูรณาการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย การวางแผน การจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณ การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล ได้อย่างครบวงจร และสามารถเป็นเครื่องมือเพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ (ในเรื่องการพัฒนาคน) ตลอดจนหน่วยงานอื่น ๆ และให้เกิดการสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการภาคเอกชน ด้วยการร่วมพัฒนาและร่วมดำเนินการบนภาพระบบอาหารที่มีความเข้าใจตรงกัน และมีจังหวะการดำเนินการที่สอดคล้องกัน (Synchronized Actions)


คำสำคัญ

  • การวิจัยเชิงระบบ
  • เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • ระบบอาหาร


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-07-02 ถึง 13:59