การใช้ตะกอนจุลินทรีย์เหลือทิ้งจากโรงบำบัดน้ำเสียชุมชนในการบำบัดนำเสียปนเปื้อนโลหะหนักด้วยระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอนนอกซิก-ออกซิก ซีเควนซิ่งแบทรีแอคเตอร์


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ


ในแต่ละปีมีปริมาณการเกิดขึ้นของตะกอนจุลินทรีย์จากโรงบำบัดน้ำเสียชุมชนในแต่ละเขตพื้นที่ต่างๆของกรุงเทพมหานคร มีปริมาณค่อนข้างมาก ตะกอนจุลินทรีย์เหล่านี้เมื่อสิ้นสุดการเดินระบบบำบัดแล้วไม่ได้ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมากเท่าที่ควร ซึ่งในความเป็นจริงแล้วตะกอนจุลินทรีย์เหล่านี้เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่ยังคงมีชีวิตและยังมีประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตได้ดี สามารถที่จะย่อยสลายสารอินทรีย์และอนินทรีย์ในน้ำเสียได้ แต่ปัจจุบันกลับถูกมองเป็นของเหลือทิ้งที่ไม่มีการนำกลับมาใช้อีก ข้อมูลจากสำนักงานระบายน้ำในปัจจุบันได้มีการจัดตั้งโรงควบคุมคุณภาพน้ำจำนวน 8 แห่ง ขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่รวม 212.74 ตารางกิโลเมตร จำนวน 21 เขต ซึ่งแสดงถึงการเกิดปริมาณตะกอนจุลินทรีย์ที่เหลือทิ้งเป็นจำนวนมากตามขึ้นไปด้วย ดังนั้นในโครงการวิจัยนี้จึงนำตะกอนจุลินทรีย์จากโรงบำบัดน้ำเสียชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร มาประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมที่มีการปนเปื้อนโลหะหนักที่มีเกิดขึ้นในปริมาณมากและยากต่อการกำจด ในการวิจัยนี้จะทำการศึกษากับระบบบำบัดน้ำเสียแบบ SBR ในรูปแบบขนาดจำลองเสมือนจริงในห้องปฎิบัติการ ก่อนจะนำตะกอนจุลินทรีย์มาใช้จริงจะมีการเลี้ยงตะกอนจุลินทรีย์ในอาหารหรือน้ำเสียสังเคราะห์ก่อนเพื่อให้จุลินทรีย์ปรับตัวแล้วจึงนำมาใช้ในระบบบำบัดเพื่อให้จุลินทรีย์กำจัดสิ่งสกปรกอย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด น้ำเสียที่นำมาใช้ในการทดลองจะเป็นน้ำเสียที่มีแมงกานีส และแคดเมียมปนอยู่ โดยจะเดินระบบแบบแอนอกซิก-ออกซิก (Anoxic : Oxic) และเมื่อสิ้นสุดการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีน้ำเสียปนเปื้อนแคดเมียม และแมงกานีสแล้ว ตะกอนจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นหลังการบำบัดจะถูกนำไปใช้ประโยชน์เป็นวัสดุผสมกับดินเพื่อปลูกพืชไม้ดอกเศรษฐกิจต่อไป ซึ่งนับเป็นวิธีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมด้วยพืชหรือ Phytoremediation แทนการนำตะกอนหลังการบำบัดเหล่านั้นไปทิ้งโดยไม่เกิดประโยชน์ งานวิจัยนี้สามารถต่อยอดประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรมได้ เพื่อเป็นต้นแบบของการลดต้นทุนในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งจะช่วยลดปริมาณของโลหะหนักที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้ด้วยวิธีชีวภาพ และที่สำคัญยังช่วยลดปริมาณของเหลือทิ้งจากภาครัฐ ตัวอย่างเช่นตะกอนจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียชมชุนดังกล่าวได้อีกทางหนึ่งอีกด้วย



คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:49