โครงการนำเสนอรูปแบบที่พักอาศัยของคนวัยเกษียณที่มีรายได้เป็นของตนเองเพื่อส่งเสริมสังคมพฤฒพลัง


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

ตามการคาดการณ์ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) ในปีพ.ศ. 2574 ประชากรสูงอายุมีความเสื่อมถอยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาหลัก ๆ 3 ประการ ได้แก่ ด้านสังคม ด้านสุขภาพ และด้านเศรษฐกิจ แต่ผู้ที่วางแผนชีวิตหลังเกษียณเป็นอย่างดีสามารถก้าวผ่านปัญหาด้านเศรษฐกิจ มีศักยภาพในการเลือกชีวิตหลังเกษียณ การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วน ประเภทที่พักสำหรับผู้สูงอายุซึ่งมีรายได้เป็นของตนเอง และเสนอแนะรูปแบบที่พักเพื่อส่งเสริมสังคมพฤฒพลัง ซึ่งเป็นแนวคิดหลายชั้น (Multi-layered) รวมแง่มุมด้านกายภาพ สังคม และวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมของผู้คนต่อสิ่งแวดล้อม

การวิจัยเริ่มจากรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับผู้สูงอายุ กรณีศึกษารูปแบบที่พักผู้สูงอายุ ปัจจัยการเลือกซื้อและปัญหาที่พักผู้สูงอายุ และสำรวจความต้องการชุมชนที่พักผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วยแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 51-55 ปี สถานภาพสมรส อาชีพพนักงานบริษัท มีรายได้ต่อเดือน 20,001-35,000 บาท ลักษณะครอบครัวแบบเดี่ยว มีบุตรชาย มีเงินออมสามารถพึ่งพาตนเองเมื่อเกษียณ และสุขภาพแข็งแรง มีความต้องการเข้าพักอาศัยในบ้านพักผู้สูงอายุ ร้อยละ 14.5 คิดเป็น 263,407 คน ตามสถิติกรมกิจการผู้สูงอายุ พ.ศ.2563 ประเภทที่พักอาศัยที่ต้องการมากที่สุดคือบ้านเดี่ยว แบบเช่าซื้อ โดยมีค่าเช่าซื้อก่อนการเข้าพักเฉลี่ย 140,744 บาท และค่าบริการรายเดือนเฉลี่ย 3,414 บาท ข้อเสนอแนะจากการประชุมกลุ่มย่อยสำหรับที่พักแบบคอนโดมิเนียมไม่ควรมีความสูงเกิน 8 ชั้น สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องพักทุกประเภทที่ต้องการโดยโครงการเป็นผู้จัดหาให้ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ และตู้เย็น และควรมีพื้นที่สำหรับที่นั่งเล่น/ดูทีวี ระเบียง และพื้นที่เตรียมอาหาร ในชุมชนที่พักผู้สูงอายุควรมีบริการ ได้แก่ ห้องพยาบาล บริการพาไปโรงพยาบาล สวนหย่อม และร้านสะดวกซื้อ และกิจกรรมที่ควรมี คือ งานอดิเรกที่ผู้เข้าพักชื่นชอบ และการตักบาตร

ประเด็นหลักจากการจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะสำหรับที่พักอาศัยแต่ละประเภท คือ การสร้างแรงจูงใจเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสนใจมาอยู่ในช่วงเวลาที่ยังสามารถดูแลตนเองได้ การออกแบบต้องครอบคลุมถึงช่วงผู้สูงอายุไม่สามารถดูแลตนเองได้ และควรทำให้ค่าที่พักอาศัยถูกลงโดยให้ร้านค้าเอกชนมาเช่าพื้นที่ นอกจากนี้ การพัฒนาโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุควรคำนึงถึงราคาที่สามารถจ่ายได้ (Affordable Housing) เพื่อผู้สูงอายุรายได้น้อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม และมีการส่งเสริมอาชีพหลังวัยเกษียณ สำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยบางคนที่ยังมีศักยภาพในการทำงานสร้างรายได้


คำสำคัญ

  • คนวัยเกษียน
  • ผู้สูงอายุ
  • พฤฒพลัง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:49