ผลของการเติมถ่านชีวภาพในเลนตะกอนจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งต่อการเก็บกักธาตุอาหาร


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

การเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น กุ้ง จะมีการให้อาหารระหว่างการเลี้ยงตลอดเวลารอบการเลี้ยง ซึ่งอาหารที่ใช้จะประกอบด้วยสารอินทรีย์และธาตุอาหาร ทำให้เกิดการสะสมของทั้งสารอินทรีย์และธาตุอาหารในตะกอนเลน เมื่อครบรอบการเลี้ยงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต (กุ้ง) ออกไป จำเป็นต้องทำการลอกตะกอนเลนออก เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกและเชื้อโรคที่ตกค้างในตะกอนเลนออก หลังจากนั้นตะกอนเลนจะถูกนำไปทิ้งในสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ และปล่อยธาตุอาหาร และหากลงสู่งแหล่งน้ำจะก่อให้เกิดการเติบโตของสาหร่ายอย่างมาก (Euthophication) เกษตรกรจะทำการเติมปูนขาวเพื่อทำการตรึงธาตุอาหาร และฆ่าเชื้อจุลินทรีย์เพื่อลดการย่อยสลายและลดการเกิดกลิ่นที่เกิดขึ้น ซึ่งเกษตรกรจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สำหรับการผลิตถ่านไม้ (ถ่านชีวภาพ) ซึ่งปกติจะทำการเผาในเตาเผา และทำให้เกิดถ่านชีวภาพ โดยการผลิตถ่านชีวภาพ จะเกิดเศษถ่านที่เหลือทิ้ง และไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์  แต่จากงานวิจัยพบว่าถ่านชีวภาพมีสมบัติที่สามารถดูดซับและกักเก็บธาตุอาหารได้ และมีความเป็นเบสสูง จึงสามารถที่จะนำมาผสมกับเลนตะกอนเพื่อทำการกักเก็บธาตุอาหารและทดแทนการใช้ปูนขาว เป็นการลดค่าใช้จ่ายให้เกษตรกร และเพิ่มมูลค่าของทั้งเลนตะกอน และเศษถ่านชีวภาพเหลือทิ้ง โดยการทดลองจะทำการเก็บตัวอย่างเลนตะกอนจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เพื่อทำการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมี และทำการเก็บตัวอย่างเศษถ่านชีวภาพเหลือทิ้งจาก จ.สมุทรสาคร เพื่อทำการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมี รวมถึงความสามารถในการดูดซับของเศษถ่านชีวภาพเหลือทิ้ง และทำการทดลองผสมตะกอนเลนกับเศษถ่านชีวภาพเหลือทิ้งที่สัดส่วนต่างๆ และศึกษาการชะล้างด้วยคอลัมน์ชะล้าง ทำการวิเคราะห์ธาตุอาหาร (ไนโตรเจน) ที่ถูกชะล้าง และวิเคราะห์หาสัดส่วนที่เหมาะสมของตะกอนเลนต่อเศษถ่านชีวภาพเหลือทิ้ง ที่ทำให้เกิดการกักเก็บธาตุอาหารที่มากที่สุด และทำการนำของผสมสัดส่วนดังกล่าวมาผสมกับดินปริมาณต่างๆ กัน เพื่อนำมาปลูกพืช และศึกษาสัดส่วนของของผสมต่อดินที่ให้การเจริญเติบโตของพืชมากที่สุด โดยทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ถ่านชีวภาพที่ผ่านการใช้งานแล้วจากการนำไปใส่ในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อปลดปล่อยธาตุอาหาร จะถูกนำมาทำการวิเคราะห์และทำการทดลองผสมกับเลนตะกอน เช่นเดียวกับการทำการทดลองด้วยเศษถ่านชีวภาพเหลือทิ้งที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน และทำการศึกษาการชะล้างธาตุอาหารในคอลัมน์เพื่อศึกษาความสามารถของถ่านชีวภาพในการกักเก็บธาตุอาหาร และนำสัดส่วนที่เหมาะสมไปปลูกพืชเพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของพืชเช่นเดียวกัน การใช้เศษถ่านชีวภาพที่ผ่านการใช้งาน จะทำให้เกิดการหมุนเวียนการใช้ถ่านชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ และหมุนเวียนธาตุอาหารที่ได้จากการบำบัดน้ำก่อนนำเข้าบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ (กุ้ง)  และจะได้ทำการประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์ของการใช้ถ่านชีวภาพเหลือทิ้งแบบหมุนเวียน และผลทางด้านสิ่งแวดล้อมจากการใช้ถ่านชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมีได้แก่ปูนขาวในการปรับสภาพเลนตะกอน และทดแทนการใช้ปุ๋ย เมื่อนำมาใช้เพาะปลูกพืช


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-15-01 ถึง 09:50