การพัฒนาวิธีการตรวจวัดฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) ด้วยเทคนิคควอตซ์คริสตัลไมโครบาลานซ์
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2021
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2022
คำอธิบายโดยย่อ
โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง เพราะร่างกายไม่สามารถผลิตและใช้ฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานสามารถทำได้โดยการวัดปริมาณน้ำตาลในเลือด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1) การตรวจหลังจากอดอาหารมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง หรือ fasting blood sugar (FBS) 2) การตรวจหลังดื่มสารละลายกลูโคสไปแล้ว 2 ชั่วโมง หรือ oral glucose tolerance (OGTT) ซึ่งใช้ทดสอบการเผาผลาญน้ำตาลของร่างกาย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการตรวจค่า FBS และ OGTT จะมีความแม่นยำ รวดเร็ว และน่าเชื่อถือได้ ทว่าเป็นเพียงการตรวจปริมาณน้ำตาลในขณะใดขณะหนึ่งเพื่อกำหนดปริมาณการให้ยาสำหรับการรักษาเท่านั้น ซึ่งอาจยังไม่เพียงพอต่อการวางแผนการรักษาและติดตามความรุนแรงของโรคในระยะยาวได้ ดังนั้นในปัจจุบันจึงพบว่าการตรวจ HbA1c (glycated hemoglobin) จึงเป็นทางเลือกสำคัญอีกทางหนึ่งที่ใช้บ่งบอกปริมาณน้ำตาลสะสมย้อนหลังได้ถึง 2-3 ซึ่งสามารถทำการตรวจได้หลายวิธีได้แก่ วิธีการวัดโดยใช้ความแตกต่างทางเคมี วิธีการวัดโดยใช้ความแตกต่างของประจุไฟฟ้า และวิธีการวัดโดยใช้ความแตกต่างของโครงสร้าง แม้ว่าจะเป็นเทคนิควิเคราะห์ที่ได้มาตรฐาน แต่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือระดับห้องปฏิบัติการที่มีราคาแพงและผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะเฉพาะทาง ทำให้การตรวจวัด HbA1c ถูกจำกัดอยู่ในห้องปฏิบิติการในโรงพยาบาล สถาบัน หรือ องค์กรสาธารณสุขขนาดใหญ่เท่านั้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิคไบโอเซนเซอร์ชนิด quartz crystal microbalance เพื่อตรวจวัด HbA1c ร่วมกับการใช้สารชีวภาพประเภท HbA1c aptamer ซึ่งกระบวนการศึกษาและพัฒนาในงานวิจัยนี้จะถูกนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดแบบ point-of-care ได้
คำสำคัญ
- Biosensors
- Diabetes
- Hemoglobin A1C
- Point-of-care devices
- Quartz crystal microbalance
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง