การผลิตส่วนผสมในอาหารฟังก์ชันกลุ่มลิปิดจากผลิตภัณฑ์พลอยได้ทางอุตสาหกรรมเกษตร


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

ปัจจุบันการผลิตอาหารแห่งอนาคตเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มอาหารฟังก์ชันที่ส่งผลดีต่อสุขภาพซึ่งต้องการส่วนประกอบในอาหารที่ทำหน้าที่พิเศษกว่าสารอาหารทั่วไป ดังนั้นการเตรียมส่วนผสมฟังก์ชัน (Functional ingredients) เพื่อนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารแห่งอนาคตจึงมีความจำเป็น และจากการให้ความสำคัญกับการคิดค้นกระบวนการผลิตที่ยั่งยืนโดยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า จึงเป็นที่มาของโครงการ “การผลิตส่วนผสมในอาหารฟังก์ชันกลุ่มลิปิดจากผลิตภัณฑ์พลอยได้ทางอุตสาหกรรมเกษตร” โดยมีวัตถุประสงค์ต้องการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านการเตรียมส่วนผสมฟังก์ชันกลุ่มลิปิดเพื่อรองรับการผลิตอาหารฟังก์ชัน 2 เรื่องต่อปี โครงการเริ่มต้นจากการนำผลิตภัณฑ์พลอยได้ของอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันรำข้าวคือกากรำข้าว มาศึกษาการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟีนอลิก รวมทั้งสารชีวภัณฑ์โปรตีนและกรดไฟติก ด้วยตัวทำละลายดีพยูเทคติก (Deep eutectic solvent, DES) ซึ่งจัดว่าเป็นตัวทำละลายสีเขียว (Green solvent) ที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งยังไม่มีรายงานการศึกษากลไกและชนิดที่เหมาะสมของการสกัดสารสำคัญเหล่านี้ด้วยตัวทำละลาย DES มาก่อน ในด้านผลิตภัณฑ์พลอยได้หรือวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้ในส่วนของเมล็ดพืช ได้ศึกษากลุ่มเมล็ดพืชที่มีศักยภาพในการเป็นสารตั้งต้นการผลิตกรดไขมันฟังก์ชัน (Functional fatty acid) คือกรดไขมันคอนจูเกตลิโนเลอิก (Conjugated linoleic acid, CLA) ที่มีคุณสมบัติลดมวลไขมันและต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยพัฒนาวิธีการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเบสสององค์ประกอบ (Superbase catalyst) ร่วมกับตัวทำละลายกลุ่มโพลีไฮดริกแอลกอฮอล์ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารได้ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาวิธีใหม่ที่สามารถเกิดผลิตภัณฑ์โดยสมบูรณ์ภายในระดับนาที จุดเด่นของเทคโนโลยีการผลิตในโครงการนี้คือการใช้ตัวทำละลายที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลิตด้วยกรรมวิธีที่ง่าย รวดเร็วและสามารถนำไปขยายสเกลได้ในอนาคต กลุ่มเป้าหมายของเทคโนโลยีคือกลุ่มผู้พัฒนาอาหารแห่งอนาคตและอาหารฟังก์ชัน กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการผลิตน้ำผลไม้และผลไม้ตัดแต่งทั้งในระดับชุมชนและอุตสาหกรรม รวมทั้งผู้ประกอบการกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและอาหารเพื่อสุขภาพ งานวิจัยนี้จึงเป็นการพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับทรัพยากรและความต้องการภายในประเทศ เพิ่มการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีศักยภาพสู่การพัฒนาระดับความพร้อมทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้นต่อไป


คำสำคัญ

  • กรดคอนจูเกตลิโนเลอิก
  • กากรำข้าว
  • ดีพยูเทคติก
  • ตัวเร่งปฏิกิริยาเบสสององค์ประกอบ
  • สารประกอบฟีนอลิก


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:49