Development of a medicinal mushroom culture medium (Hericium erinaceus, Lignosus rhinoceros and Poria Cocos) with potato substitutes to stimulate mycelium growth and the biological activities of mycelium extract.


Principal Investigator


Co-Investigators

No matching items found.


Other Team Members


Project details

Start date01/10/2021

End date30/09/2022


Abstract

ในปัจจุบันคนไทยตั้งแต่วัยกลางคนไปจนถึงวัยสูงอายุมักมีปัญหาเรื่องสุขภาพ เนื่องด้วยเพราะปัจจัยในการดำเนินชีวิตประจำวัน อันได้แก่ 1.อาหารการกิน ที่มักรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ อาหารมีการปนเปื้อนของสารเคมี ฮอรโมนต่างๆ ทั้งจากพืชและสัตว์ที่นำมาบริโภค รวมถึงพิษจากภาชนะพลาสติกที่บรรจุ 2.การพักผ่อนและการออกกำลังไม่เพียงพอ เนื่องจากต้องออกไปทำงานตั้งแต่เช้าและกลับถึงบ้านค่ำ จึงทำให้มีเวลาพักผ่อนน้อยและไม่ได้ออกกำลังกาย ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง 3.มลภาวะทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น ควัน หรือก๊าซจากท่อไอเสียยานพาหนะต่างๆ ที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบทางเดินหายใจ ซึ่งปัจจัยดังที่ได้กล่าวมานี้ย่อมส่งผลให้คนตั้งแต่วัยกลางคนไปจนถึงวัยสูงอายุเกิดปัญหาสุขภาพตามมา เมื่อมีปัญหาสุขภาพเกิดขึ้นคนมักนิยมพบแพทย์และรับประทานยาทั้งแบบยาแผนปัจจุบัน ยาแผนไทย และยาแผนจีน สำหรับคนที่ไม่ได้มีปัญหาสุขภาพรุนแรงมักจะเลือกดูแลตนเองด้วยการรับประทานอาหารเสริมประภทต่างๆ โดยอาหารเสริมนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นอาหารเสริมประเภทวิตามินสังเคราะห์ พืชสมุนไพร และประเภทเห็ดสมุนไพร (เห็ดทางยา) อาหารเสริมประเภทเห็ดสมุนไพร เช่น ถั่งเช่า (Cordyceps) เห็ดหลินจือ (Lingzhi) ฯลฯ เป็นที่นิยมรับประทานในหลายประเทศในปัจจุบัน รวมทั้งในประเทศไทย เพราะมีรายงานการวิจัยบ่งชี้ว่าเห็ดสมุนไพรเหล่านี้มีส่วนช่วยในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง ปรับความดันเลือดสูงและต่ำให้เข้าสู่ภาวะปกติ กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นต้น นอกเหนือจากเห็ดทั้ง 2 ชนิดนี้ ยังมีเห็ดทางยาอีก 3 ชนิด ที่ยังมีรายงานทางการวิจัยไม่มาก ได้แก่ 1. เห็ดหัวลิงหรือเห็ดยามาบูชิตาเกะ (Hericium erinaceus) พบว่าสามารถควบคุมระดับไขมันในเลือด ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ บำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร กระตุ้นระบบประสาท ลดอาการอัลไซเมอร์ 2. เห็ดนมเสือ หรือ tiger milk mushroom (Lignosus rhinocerus) ตามความเชื่อเมื่อเสือแม่ลูกอ่อนทำน้ำนมหยดลงบนพื้นดินแล้วเห็ดนมเสือจะเกิดขึ้น เห็ดนมเสือมีส่วนดอกเห็ดคล้ายดอกเห็ดหลินจือและมีส่วนหัวใต้ดิน (sclerotium) ฝังอยู่ในดิน โดยส่วนหัวใต้ดินนี้เกิดจากการที่เส้นใยของเห็ดรวมตัวกันเป็นก้อนและพบว่าสารสำคัญที่ใช้ในการรักษาโรคส่วนใหญ่อยู่ในส่วนหัวใต้ดินนี้ มีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่าเห็ดนมเสือสามารถรักษาโรคมะเร็งได้หลายชนิด โรคต่อมทอนซิลอักเสบ โรคหอบหืด โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน อาการไอเรื้อรัง และช่วยบำรุงร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงมีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียและไวรัส 3. เห็ดฝูหลิงหรือเห็ดโป่งรากสน (Poria cocos) เป็นที่เห็ดที่มีส่วนดอกเห็ดอยู่เหนือพื้นดินและมีส่วนหัวใต้ดิน (sclerotium) ฝังอยู่ในดินคล้ายเห็ดนมเสือ เห็ดฝูหลิงมีรางานทางการวิจัยพบว่ามีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายจิตใจ บำรุงม้าม ด้วยคุณสมบัติเห็ดทางยาทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ Hericium erinaceus, Lignosus rhinoceros and Poria Cocos ประกอบกับความสนใจในการพัฒนาขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเส้นใยเห็ดด้วยวัตถุดิบทดแทนมันฝรั่งในอาหารวุ้น potato dextrose agar (PDA) และอาหารเหลว potato dextrose broth (PDB) เพื่อลดต้นทุนวัตถุดิบมันฝรั่งซึ่งมีราคาสูงเนื่องจากการนำเข้ามันฝรั่งจากต่างประเทศ และช่วยส่งเสริมการซื้อขายวัตถุดิบทางการเกษตรภายในประเทศเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องการพัฒนาสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเห็ดทางยา (Hericium erinaceus, Lignosus rhinoceros and Poria Cocos) ด้วยวัตถุดิบทดแทนมันฝรั่งเพื่อกระตุ้นการเจริญของเส้นใยเห็ดและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากเส้นใยเห็ดเพื่อให้ได้สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อที่ช่วยให้เส้นใยเห็ดมีการเจริญเติบโตดีและมีฤทธิ์ทางชีวภาพสูง ซึ่งจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของเห็ดทางยาในท้องตลาดทั้งในและต่างประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคเนื่องจากมีงานวิจัยรองรับ รวมถึงมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตร ภาครัฐหรือภาคเอกชนที่สนใจ


Keywords

  • Antioxidant activity
  • เห็ดทางยา


Strategic Research Themes


Publications


Last updated on 2025-10-01 at 13:15