Rice husk ash as a sustainable material for microplastic removal from surface water


Principal Investigator


Co-Investigators

No matching items found.


Other Team Members


Project details

Start date01/10/2021

End date30/09/2022


Abstract

ประเทศไทยมีการใช้พลาสติกเป็นสารตั้งต้นในการผลิตบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ต่างๆเป็นจำนวนมาก เช่น ชิ้นส่วนวัสดุยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ เป็นต้น จากรายงานข้อมูลสถิติพบว่า ประเทศไทยใช้พลาสติกเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ (Packaging) อาทิ เช่น ถุง ถาดโฟม กล่อง ถ้วย ในสัดส่วนที่สูงสุด โดยในปี พ.ศ. 2558 ได้ผลิตบรรจุภัณฑ์สูงถึง 2.048 ล้านตัน โดยพบว่าขยะพลาสติกเกิดขึ้นในปริมาณร้อยละ 12 ของปริมาณขยะทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2 ล้านตัน ซึ่งขยะพลาสติกที่พบส่วนใหญ่ในสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ถุงร้อน ถุงเย็น และถุงหูหิ้ว ที่ผลิตจากพลาสติกประเภท Polypropylene (PE) (สุทธิรัตน์ กิตติพงษ์วิเศษ และคณะ, 2562) นอกจากขยะพลาสติกขนาดใหญ่ที่มักพบในสิ่งแวดล้อมแล้วนั้น การปนเปื้อนของขยะพลาสติกที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ก็ถูกพบเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของพลาสติกขนาดใหญ่ เช่น จากพลาสติกประเภท Polyethylene (PE), Polystyrene (PS) และ Polyvinyl chloride (PVC) ซึ่งก่อให้เกิดการสะสมในสิ่งแวดล้อมและเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตในท้ายที่สุด  ผลการศึกษาของ Ta และ Babel (2020) ได้รายงานว่าพบปริมาณ MPs ในน้ำผิวดิน ขนาดเล็กประมาณ 0.05–0.3 มิลลิเมตร เป็นจำนวนมากที่สุดในบริเวณเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยพบอนุภาคโพลีโพรพีลีน (Polypropylene: PP) และโพลีเอทิลีน (Polyethylene: PE) มากที่สุดในน้ำผิวดินและเลนตะกอนตามลำดับ  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องบำบัด MPs ในแหล่งน้ำผิวดินเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำและลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของ MPs ลงสู่ทะเล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในวงกว้าง

นอกจากนี้ ในปัจจุบันพบว่า มีเศษวัสดุเหลือทิ้งหลังจากกระบวนการผลิตข้าว ทั้งจากภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก คณะวิจัยจึงเล็งเห็นว่าการใช้ประโยชน์จากวัสดุดังกล่าว ได้แก่ ขี้เถ้าแกลบหรือถ่านแกลบจากโรงสีข้าว บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด จะช่วยลดปริมาณวัสดุที่เหลือทิ้งและส่งเสริมการนำทรัพยากรมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าสูงสุด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์จากการนำขี้เถ้าแกลบหรือถ่านแกลบมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์เป็นวัสดุที่ยั่งยืนเพื่อบำบัดสารไมโครพลาสติก (MPs) ประเภท Polyethylene และ Polypropylene ในน้ำผิวดิน และศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดสารและเปรียบเทียบผลกระทบของขนาดอนุภาคต่อการบำบัด MPs ในน้ำผิวดินด้วยการกรอง ในระดับห้องปฏิบัติการ


Keywords

No matching items found.


Strategic Research Themes


Publications


Last updated on 2025-07-02 at 13:59