A Participatory Approach to Developing Night-time Identity for Historic Cities in Thailand: A Case Study of Rattanakosin Island


Principal Investigator


Co-Investigators

No matching items found.


Other Team Members


Project details

Start date01/10/2021

End date30/09/2022


Abstract


อัตลักษณ์ของเมืองมีความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
โดยเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิต (Quality of life) และสุขภาวะที่ดีของผู้อยู่อาศัย (Well-being) ท่ามกลางความ
แข่งขันของเมืองต่างๆ ทั่วโลกจึงพยายามสร้างอัตลักษณ์ของเมืองให้โดดเด่น เพื่อดึงดูดประชากรที่มีคุณภาพ
การลงทุนจากภายนอก และส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น โดยแนวทางหนึ่งคือการบูรณะมรดกทางวัฒนธรรม
ขึ้นมาใหม่ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเมืองที่มีย่านเก่าซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในหลายจังหวัด
ของประเทศไทย รวมทั้งย่านเก่าภายในเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร
อย่างไรก็ตาม การศึกษาและพัฒนาอัตลักษณ์ท้องถิ่นในประเทศไทยยังคงเน้นที่การรับรู้และการใช้
เมืองในเวลากลางวันเท่านั้น แต่ยังไม่ได้คำนึงถึงการใช้งาน พฤติกรรม และสภาพการมองเห็นในช่วงเย็นและยาม
ค่ำคืน ที่มีข้อจำกัดจากความสามารถในการมองเห็นและการรับรู้สีภายใต้สภาวะแสงต่ำ (mesopic vision) โดย
เฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสายตาผู้สูงอายุ (aging eyes) กลุ่มประชากรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การรับรู้สภาพ
แวดล้อมและประสบการณ์ของผู้ใช้ในเวลากลางคืนจึงได้รับอิทธิพลโดยตรงจากสภาพแสงสว่างในชุมชนเมือง
แต่การให้แสงสว่างในย่านเมืองเก่าส่วนใหญ่เน้นที่การให้ความสว่างพื้นฐานเท่านั้น ขาดการกำหนดแนวทางการ
ออกแบบแสงสว่างที่เหมาะสมและมีเอกภาพ ทำให้ลดทอนคุณค่าทางประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ของย่านเมือง
เก่าไปอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากการศึกษาด้านแสงสว่างสำหรับชุมชนเมือง (urban lighting) ยังเป็นเรื่องใหม่
จึงยังขาดกรอบแนวทางการศึกษาและเครื่องมือที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
การวิจัยในครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ของเมืองเก่ายามค่ำคืนใน
ต่างประเทศ 2) พัฒนาเครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่น่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ 3) นำเสนอแนวทางการศึกษา
และพัฒนาอัตลักษณ์ของเมืองเก่าในยามค่ำคืนที่เหมาะสมกับบริบทในประเทศไทย โดยการดำเนินงานแบ่งออก
เป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ทบทวนวรรรณกรรมและรวบรวบข้อมูลเชิงกายภาพ ประวัติศาสตร์ และบริบททางสังคม
รวมถึงการสำรวจสภาพแสงสว่างและกิจกรรมในยามเย็นและยามค่ำคืนในย่านกรณีศึกษา 2) พัฒนาเครื่องมือ
เพื่อใช้ในการสำรวจการรับรู้อัตลักษณ์ยามค่ำคืนของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก และ 3)
การพัฒนาอัตลักษณ์ยามค่ำคืนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม สำหรับย่านเก่าบางลำพูและปากคลองคลาด และภา
พรวมของสภาพแสงสว่างในพื้นที่สาธารณะของเกาะรัตนโกสินทร์และภูมิทัศน์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงสะพา
นพรรามแปดถึงสะพานพุทธฯ

โดยจะมีการจัดเวิร์คช็อปร่วมกับชาวชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนักออกแบบแสงสว่างชาวไทยและ
ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เป็นเวลา 4 วัน ประกอบด้วย การเดินสำรวจพื้นที่ในเวลากลางคืนร่วมกัน (night
walks) การพัฒนาแนวคิดและนำเสนอแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ยามค่ำคืนเบื้องต้น และการทดลองติดตั้ง
แสงชั่วคราว (lighting mock ups) ในพื้นที่นำร่อง เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และใช้
ผลการจัดเวิร์คช็อปในการปรับปรุงแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ยามค่ำคืนของพื้นที่กรณีศึกษาต่อไป


Keywords

  • ภาพลักษณ์เมือง


Strategic Research Themes


Publications

No matching items found.


Last updated on 2025-14-01 at 09:48