เทคนิคการเปลี่ยนขยะเศษอาหารเป็นเชื้อเพลิงแข็งด้วยกรดเลวูลินิกและตัวทำละลาย


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

จากการรายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations, FAO) ปัจจุบันมีการคาดการณ์ว่าปริมาณขยะเศษอาหารคิดเป็นสัดส่วนหนึ่งส่วนในสามส่วน (1/3) ของอาหารที่ผลิตได้ หรือประมาณร้อยละ 30 ของอาหารทั้งหมด ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดขยะเศษอาหารประกอบไปด้วย ของเสียที่เกิดจากระหว่างการขนส่งและการจัดเก็บ (Losses during transportation and storage) ของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมและการทำอาหารในครัวเรือน (Losses during processing in industry and cooking in household) และไม่มีการคำนึงถึงการนำเอาเศษอาหารกลับมาใช้ซ้ำ (Low efficient use of leftovers) ทั้งนี้ควรมีการส่งเสริมการปรับปรุงกระบวนผลิตและลดของเสียตั้งแต่จุดกำหนดเพื่อลดปริมาณของเสียที่จะเกิดขึ้น

          การใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนสภาพ/เปลี่ยนรูปถ่านหิน ชีวมวล และขยะอาหาร/ขยะเศษอาหาร ซึ่งจัดเป็นวัสดุคาร์บอน (Carbonaceous Material) เป็นแนวทางการใช้ประโยชน์ในการจัดการขยะมูลฝอยโดยเฉพาะขยะเศษอาหารซึ่งมีปริมาณมากและพบง่าย แต่ยังขาดวิธีการจัดการและรวบรวมเพื่อการนำไปกำจัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งหากมีการส่งเสริมการจัดการ ส่งเสริมเทคโนโลยี เทคนิคและวิธีการในสัดส่วนขยะอาหารที่มีสัดส่วนเยอะที่สุด รวมถึงการส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากของเสียที่เกิดขึ้น หากมีวิธีการ เทคโนโลยี เทคนิคการเปลี่ยนสภาพ และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันก็ย่อมเป็นผลดีต่อการพัฒนาองค์ความรู้โดยเฉพาะด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ในเบื้องต้นในภาคอุตสาหกรรมมีการใช้กระบวนการปรับปรุงถ่านหินและชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงและวัสดุพลอยได้อื่นอยู่แล้วในปัจจุบัน เพื่อเป็นการผนวกแนวทางการเปลี่ยนสภาพให้เป็นเชื้อเพลิงแข็งร่วมกับตัวกลางที่เป็นสารละลายที่ได้จากกระบวนการเปลี่ยนสภาพชีวมวลเช่นเดียวกัน โดยจะมีการดำเนินการใช้กระบวนการเปลี่ยนสภาพขยะอาหารเป็นเชื้อเพลิงแข็งด้วยสารละลายกรดเลวูลินิกจากชีวมวลพวกลิกโนเซลลูโลส (Solvent treatment of food waste with levulinic acid obtained from lignocellulosic biomass) ทั้งนี้นักวิจัยในประเทศไทยเองสามารถดำเนินการวิจัยเพื่อผลิตกรดเลวูลินิกจากชีวมวลได้ จึงได้นำมาเป็นตัวกลางสารละลายเพื่อดำเนินการภายใตโครงการวิจัยนี้ โดยโครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นการแก้ปัญหาขยะเศษอาหารด้วยการนำไปเปลี่ยนสภาพเป็นเชื้อเพลิงแข็งซึ่งเป็นอีกแนวทาง/วิธีการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยชุมชุน


คำสำคัญ

  • Food Waste
  • Pyrolysis
  • solvent treatment


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-07-02 ถึง 13:59