การเพิ่มความคงตัวของไฟโคไซยานินผ่านการห่อหุ้ม และควบคุมการปลดปล่อย
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2020
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2022
คำอธิบายโดยย่อ
ในปัจจุบันได้มีการนำเอาไฟโคไซยานินไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอางค์ อาหารเสริม อาหารสัตว์ และ ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากในธรรมชาติไฟโคไซยานินเกิดจากการรวมกันระหว่างรงควัตถุ และโปรตีน (pigment-protein complex) จึงทำให้แสง อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง ความชื้น และความเข้มข้นของโปรตีน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความคงตัว (stability) ของไฟโคไซยานิน ซึ่งความไม่คงตัวของไฟโคไซยานินจะส่งผลให้เกิดการตกตะกอน (precipitation) การมีสีที่เปลี่ยนไป (discoloring) รวมไปถึงคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ลดลง ดังนั้นในข้อเสนอโครงการวิจัยนี้ จะเน้นไปที่การศึกษากระบวนการห่อหุ้มไฟโคไซยานิน โดยจะมีการศึกษาชนิดของตัวห่อหุ้ม (types of carriers) สภาวะที่เหมาะสมในการห่อหุ้ม ประสิทธิภาพการห่อหุ้ม (encapsulation efficiency) และความเสถียรทางชีวภาพ (biostability) รวมไปถึงการทดสอบคุณสมบัติ และเสถียรภาพของแคปซูลที่สร้างขึ้นมาที่สภาวะต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิสูง สภาวะที่มีแสง และ ในทางเดินอาหารจำลอง ซึ่งความรู้ที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นต้นแบบ พัฒนาต่อยอด และใช้ศึกษาการห่อหุ้มสารชีวภาพประเภทอื่น ๆ ที่สนใจได้ เพื่อประยุกต์ใช้เป็นอาหารฟังก์ชัน (Functional food) ในอนาคตได้
คำสำคัญ
- Controlled-release
- Encapsulation
- Phycocyanin
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง