การผลิตเครื่องดื่มสุขภาพ: เครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ประเภทโปรไบโอติกจากน้ำมะพร้าวแก่ร่วมกับน้ำสัปปะรด (Pina Colada)


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

จากการที่คนในยุคปัจจุบันหันมาให้ความสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น จึงทำให้ฟังก์ชั่นนอลฟู๊ด (Functional Foods) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีการเติมสารอาหารบางอย่างเข้าไปทำให้ได้ประโยชน์นอกเหนือจากคุณค่าทางโภชนาการพื้นฐาน ได้รับความนิยมมมากขึ้น  และมีการเติบโตที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ในปี พ.ศ. 2560 ผลิตภัณฑ์ฟังก์ชั่นนอลฟู๊ดในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 68,000 ล้านบาท และคาดว่ามูลค่าตลาดในปี พ.ศ. 2561-2565 จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 4%  สำหรับโปรไบโอติกถือได้ว่าเป็นอาหาร Functional foods ประเภทหนึ่งนอกจากจะ มีประโยชน์ต่อสุขภาพทางด้านโภชนาการแล้วยังมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์อีกด้วย ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยรักษาความสมดุลขององค์ประกอบจุลินทรีย์ในลำไส้ เพิ่มความต้านทานการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ป้องกันโรคอุจจาระร่วง ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ ป้องกันการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร และรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทได้ ผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกจึงมีการเติบโตสูงเช่นกัน ในประเทศไทยเครื่องดื่มน้ำผลไม้และเครื่องดื่มที่มีจุลินทรีย์กลุ่มโปรไบโอติกมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงร้อยละ 12.9 และ 8 คิดเป็นมูลค่า 14,119 ล้านบาท และ 30,196 ล้านบาท ตามลำดับ

              เครื่องดื่มโปรไบโอติกส่วนใหญ่ที่ขายในท้องตลาดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันคนมากกว่า 70% ทั่วโลก มีผลกระทบต่อการแพ้แลคโตส เครื่องดื่มโปรไบโอติกที่ไม่ได้ทำจากนมนับได้ว่าเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้รักสุขภาพที่อยากดื่มโปรไบโอติกแต่แพ้นม เครื่องดื่มโปรไบโอติกจากน้ำผลไม้หรือพืชบางชนิด ผลไม้บางชนิดมีความเป็นกรดต่ำทำให้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ และผลไม้และพืชบางชนิดก็มีรสชาดและกลิ่นไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จึงเป็นข้อจำกัดในการผลิตเครื่องดื่มโปรไบโอติกจากน้ำผลไม้หรือพืชบางชนิด

              น้ำมะพร้าวแก่ ซึ่งเป็นของเหลือใช้ในกระบวนการแปรรูปมะพร้าวขาวหรือการทำกะทิ อุดมไปด้วยวิตามินซี สาร antioxidant  และแร่ธาตุต่างๆ ที่สำคัญที่มนุษย์ต้องการ เช่น   K, Na, Mg, Ca, Fe, Zn, Cu และ Se เป็นต้นซึ่งใกล้เคียงกับน้ำมะพร้าวอ่อน การศึกษานี้จึงสนใจในการใช้ประโยชน์จากน้ำมะพร้าวแก่ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งในกระบวนการแปรรูปมะพร้าวขาวมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องดื่มสุขภาพโปรไบโอติกจากน้ำมะพร้าวแก่ร่วมกับน้ำสัปปะรด (Probiotic Pina Colada) แต่ด้วยข้อจำกัดของน้ำมะพร้าวแก่ซึ่งมีน้ำตาลและโปรตีนเป็นองค์ประกอบต่ำ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการผลิตโปรไบโอติค ให้มีคุณภาพและรสชาติดี จึงจำเป็นต้องหาวัตถุดิบอื่นมาหมักร่วมด้วยเพื่อช่วยในการปรับสภาวะการหมักและรสชาดให้เหมาะสม สัปปะรดซึ่งเป็นผลไม้ที่มีธาตุอาหารสำคัญหลายชนิด ได้แก่ K, P, Na, Ca และ Fe ที่สำคัญยังอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการเกือบทุกชนิด และยังมีปริมาณน้ำตาลสูงประมาณร้อยละ 12-15 จึงมีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องดื่มโปรไบโอติกเช่นกัน

      จากข้อจำกัดของน้ำมะพร้าวแก่ข้างต้นในการศึกษานี้จึงสนใจในการใช้ประโยชน์จากน้ำมะพร้าวแก่ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งในกระบวนการแปรรูปมะพร้าวขาวมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องดื่มสุขภาพโปรไบโอติกจากน้ำมะพร้าวแก่ร่วมกับน้ำสัปปะรด (Probiotic Pina Colada) แต่ด้วยข้อจำกัดของน้ำมะพร้าวแก่ในการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเครื่องดื่มโปรไบโอติก การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัย ได้แก่ สัดส่วนของน้ำมะพร้าวแก่ น้ำสัปปะรดรวมทั้งสารปรุงแต่งที่มีผลต่อคุณภาพของเครื่องดื่มโปรไบโอติกที่ได้ ตลอดจนอายุการเก็บรักษาและการยอมรับของผู้บริโภค ผลที่ได้จากการศึกษานอกจากจะได้เครื่องดื่มสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ จุลินทรีย์ที่มาประโยชน์ วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระแล้ว ยังเป็นการเป็นการเพิ่มมูลค่าของน้ำมะพร้าวแก่ซึ่งเป็นของเหลือใช้ในกระบวนการแปรรูปมะพร้าวขาวได้อีกด้วย


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:48