การพัฒนาแผ่นแปะผิวหนังนำส่งยาภายใต้สนามไฟฟ้า


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

แผ่นแปะนำส่งยาผ่านทางผิวหนังเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง              จนนำไปสู่การวางจำหน่ายอย่างแพร่หลาย เช่น แผ่นแปะบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แผ่นแปะคุมกำเนิด และแผ่นแปะนิโคติน เป็นต้น เนื่องจากการนำส่งยาด้วยวิธีการนี้เป็นวิธีที่ง่ายต่อการใช้งาน สามารถหลีกเลี่ยงการ             ถูกทำลายของยาบริเวณระบบทางเดินอาหารจากความเป็นกรดของกระเพาะอาหาร หรือจากเอนไซม์ต่างๆ สามารถควบคุมการปลดปล่อยของยาได้และสามารถดึงแผ่นแปะออกจากผิวหนังเมื่อต้องการหยุดยา และเป็นทางเลือกในการนำยาเข้าสู่ร่างกายสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถฉีดหรือรับประทานยาได้ อย่างไรก็ตามการนำส่งยาทางผิวหนังไม่สามารถใช้ได้กับยาทุกชนิด เนื่องจากข้อจำกัดบางประการ เช่น ข้อจำกัดของการซึมผ่านของสารเข้าสู่ผิวหนัง ซึ่งโดยธรรมชาติของผิวหนังไม่ยอมให้สารหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย จึงเป็นอุปสรรคในการนำส่งยาที่โมเลกุลขนาดใหญ่และยาที่ละลายน้ำได้ดีผ่านเข้าสู่ผิวหนัง จากข้อจำกัดดังกล่าวจึงมีการพัฒนาระบบนำส่งยาผ่านผิวหนังภายใต้การกระตุ้นด้วยสนามไฟฟ้า  ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถควบคุมปริมาณ เวลา และอัตราการนำส่งยาด้วยการปรับระดับความต่างศักย์ไฟฟ้าด้วยกลไกการผลักยาให้เคลื่อนที่เข้าผิวหนังด้วยกระแสไฟฟ้าขนาดต่ำ โดยอาศัยหลักการไอออนโตโฟรีซิส (Iontophoresis) นั่นคือประจุไฟฟ้าเหมือนกันจะผลักกัน ส่วนประจุไฟฟ้าต่างกันจะดึงดูดกัน ยาที่มีประจุบวกจะเข้าผิวหนังจากด้านขั้วอิเล็กโทรดที่เป็นบวก (Anode) ส่วนยาที่มีประจุลบจะเข้าผิวหนังจากด้านขั้วอิเล็กโทรดที่เป็นลบ (Cathode) 

      ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ประกอบของแผ่นนำส่งยาทางผิวหนังภายใต้การใช้กระแสไฟฟ้า            2 ส่วน คือ 1) แผ่นบรรจุยา (Drug matrix) และ 2) แผ่นขั้วไฟฟ้ายืดหยุ่น (Flexible electrode) โดยแผ่นบรรจุยาจะถูกพัฒนาขึ้นจากพอลิแซ็กคาไรด์ไฮโดรเจล เพื่อตอบสนองความต้องการการปลดปล่อยยาในอัตรา ปริมาณ และเวลา ในการปลดปล่อยยาที่เหมาะสมภายใต้การใช้กระแสไฟฟ้า โดยในเบื้องต้นจะศึกษาการปลดปล่อยยาสองกลุ่ม คือ ยาบรรเทาปวดกล้ามเนื้อทั่วไปซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นยาที่โครงสร้างทางเคมีแบบมีขั้ว จึงมีความเป็นไปได้ในการสนองต่อสนามไฟฟ้า และยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งซึ่งผู้ป่วยบางรายเกิดอาการข้างเคียงจากการรับประทานยา ดังนั้นการศึกษาการนำส่งยากลุ่มโรคมะเร็งเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ และการพัฒนาแผ่นขั้วไฟฟ้ายืดหยุ่นจากจากวัสดุเชิงประกอบยางธรรมชาติอีพ็อกซีไดซ์ผสม Carbon nanomaterial ให้มีความสามารถในการนำไฟฟ้าและมีความยืดหยุ่นขณะใช้งาน เพื่อรองรับการทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้าในการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่แผ่นบรรจุยา


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:48