โครงการบ่มเพาะนักวิจัยศักยภาพสูง


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

บุคลากรวิจัยเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อความก้าวหน้าของประเทศ จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพเพื่อสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ สามารถพัฒนาต่อยอดต่อไปได้ อันจะส่งผลให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ และสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้ มจธ จึงควรตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรวิจัย และสนับสนุนทุนวิจัยผ่านหลายแหล่งทุนโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริม และสนับสนุนบุคลากรวิจัยของ มจธ ให้ประกอบอาชีพเป็นนักวิจัย และมุ่งมั่นเพิ่มศักยภาพในการทำวิจัยของตนเอง สร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง

นักวิจัยรุ่นใหม่บางกลุ่มในมหาวิทยาลัยที่อยู่ในคณะหรือภาควิชาที่เห็นความสำคัญของวิจัยและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำวิจัย รวมถึงมีนักวิจัยต้นแบบหรือนักวิจัยพี่เลี้ยง (Mentor) ที่ดี ที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโจทย์วิจัยที่เหมาะสม และแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการที่ดีย่อมจะสามารถจัดทำข้อเสนอโครงการที่ดี ทำให้มีโอกาสได้รับทุนและสามารถพัฒนางานวิจัยที่ตนถนัดได้อย่างเต็มขีดความสามารถ งานของนักวิจัยกลุ่มนี้จึงก้าวไปสู่มาตรฐานระดับสากลอย่างน่าพึงพอใจ อย่างไรก็ดียังมีนักวิจัยอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง กล่าวคือ ยังไม่มีโอกาสได้ทำวิจัยอย่างที่ต้องการ ไม่สามารถตั้งหลักลงมือทำวิจัยได้ ด้วยข้อจำกัดต่างๆ ทั้งด้านเวลาที่ต้องทำงานประจำ ที่อาจารย์จะมีชั่วโมงสอน-คุมปฏิบัติการมาก และ/หรือขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ทำวิจัย  ตลอดจนได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมอื่นๆทั้งการประชุม-อบรม-บริหาร ที่แย่งชิงเวลา/ภารกิจการทำวิจัยไป  ที่สำคัญที่สุด คือ การขาดต้นแบบหรือนักวิจัยพี่เลี้ยงที่เหมาะสม จึงไม่อาจจะจัดทำข้อเสนอโครงการที่ดีจนสามารถขอรับทุนได้ บุคลากรวิจัยเหล่านี้จึงไม่สามารถสร้างสรรค์งานวิจัยของตนเองได้ ซึ่งโดยมากจะหมดแรงจูงใจในการทำวิจัยในที่สุดทำให้ประเทศชาติสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่ควรจะดำเนินชีวิตเป็นนักวิจัยอาชีพที่มีคุณภาพไปอย่างไม่สมควร โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบ่งเพาะและให้ข้อเสนอแนะนักวิจัยรุ่นใหม่ (เน้นสาขาเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม) เพื่อพัฒนาให้เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่ดี เพื่อเพิ่มโอกาสการได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย รวมถึงแนะนำแนวทางการทำงานวิจัย อันจะทำให้บุคลากรวิจัยของมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสทำวิจัยเป็นอาชีพ ทั้งนี้ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ประกอบด้วย (1) ตัวนักวิจัยเองที่จะสามารถพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยที่ดีได้ (2) มหาวิทยาลัยที่จะสามารถเพิ่มโอกาสการได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัยของสถาบันจากหน่วยงานภายนอก (3) ประเทศไทยที่จะสามารถเพิ่มปริมาณบุคลากรวิจัยที่ทำวิจัยเป็นอาชีพ รวมถึงเพิ่มปริมาณงานวิจัยที่มีทิศทางชัดเจนสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ


คำสำคัญ

  • พัฒนากำลังคน, Capacity building


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:48