สูตรผสมของสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่มูลค่าสูงจากเห็ดเป็นยาเพื่อยับยั้งเซลล์ดื้อยาและเซลล์กลายพันธุ์


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

         ในปัจจุบันโรคติดเชื้อเกิดจากเชื้อดื้อยาถือเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย โดยเฉพาะการติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น การติดเชื้อราในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยที่รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ/เลือด ตลอดจนกลุ่มเด็กและคนชรา ซึ่งการรักษาโรคติดเชื้อด้วยยาต้านเชื้อราที่มีอยู่ในปัจจุบัน  มีข้อจำกัดหลายประการ เช่น กลุ่มยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อราที่มีจำกัด ซึ่งบางชนิดมีความเป็นพิษต่อเซลล์ข้างเคียงอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดการแพ้ยาและมีราคาสูง นอกจากนี้การได้รับยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถส่งเสริมให้เกิดการดื้อยาในเชื้อราชนิดต่างๆ โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมายาปฏิชีวนะที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นยาใหม่นั้นมักจะมีกลไกคล้ายๆยาในกลุ่มเดิม ทำให้เหลือตัวยาที่เป็นทางเลือกให้ผู้ป่วยน้อยลงไปด้วย การค้นพบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive compounds) ชนิดใหม่จากธรรมชาติเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาการดื้อยา โดยเฉพาะเห็ดที่เป็นยาซึ่งแหล่งสำคัญของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ชนิดใหม่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นยาได้ เช่น เห็ดรา Xylaria sp. ที่มีความสามารถในการต้านจุลชีพได้หลายชนิด เช่น แบคทีเรียแกรมบวก แบคทีเรียแกรมลบ และ เชื้อราบางชนิด ในงานวิจัยนี้ จึงต้องการต่อยอดองค์ความรู้ในการนำสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดราชนิดนี้มาใช้ร่วมกับยาต้านเชื้อรากลุ่มเดิม โดยผลการทดลองในเบื้องต้นพบว่าสามารถเสริมฤทธิ์กันได้ในกลุ่มยาบางชนิด (synergy หรือ additive) โดยพบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพกลุ่มต่างๆ เช่น terpeniods, xyloketals, xanthones และ cytochalasins  โดยคาดว่างานวิจัยนี้จะนำไปสู่การพัฒนาสูตรผสมของสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่มูลค่าสูงจากเห็ดเป็นยาเพื่อยับยั้งเซลล์ดื้อยาและเซลล์กลายพันธุ์ เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้ายาราคาสูงจากต่างประเทศ และลดอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อดื้อยา


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:48