นวัตกรรมการตรวจวัดยาฆ่าแมลง/ยาปราบศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในอาหาร


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

ยาฆ่าแมลงหรือยาปราบศัตรูพืชคือ สารเคมีสังเคราะห์ที่ใช้ในการกำจัด ขับไล่ หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของศัตรูพืช ไม่ว่าจะเป็นแมลง วัชพืช หรือสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อพืชทำให้ผลผลิตที่ได้มีความคุณภาพหรือปริมาณน้อยลง ถึงแม่ว่าสารเคมีเหล่านี้จะช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณเพิ่มขึ้น แต่การใช้สารจำพวกนี้มีอันตรายทั้งต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อันตรายต่อมนุษย์มักเกิดจากการใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ไม่ปฏิบัติ ตามคำแนะนำ หรือเกิดจากอุบัติเหตุเช่น การชำ รุดแตกหัก รั่วไหล ของอุปกรณ์การฉีดพ่น และภาชนะบรรจุรวมทั้งการกำจัดภาชนะที่ใช้แล้วอย่างไม่ถูกต้อง ยาฆ่าแมลงหรือยาปราบศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การกลืนกิน การ หายใจ การสัมผัสทางผิวหนังหรือดวงตา ดังนั้นต้องมีการใช้อย่างถูกต้องและระมัดระวัง การได้รับสารเคมีจำพวกนี้เข้าสู่ร่างกายอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น  ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา เกิดความผิดปกติของระบบประสาท มะเร็ง เกิดความผิดปกติทางพัฒนาการของทารกในครรภ์มารดา และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ สำหรับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือยาปราบศัตรูพืชร้อยละ 90 ขึ้นไปมีการกระจายสู่พื้นที่อื่น ๆ นอกเหนือจากพื้นที่เป้าหมาย รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่เป้าหมาย อากาศ แหล่งน้ำ และดิน ทำให้เกิดการฟุ้งกระจายหรือสะสมอยู่บนพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม

    รัฐบาลไทยส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรอินทรีย์ โดยเน้นการทำการเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมีหรือใช้ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เนื่องการกำจัดศัตรูพืชบางชนิดยังไม่สามารถนำสารชีวภาพมาใช้ทดแทนรูปแบบการกำจัดเดิมได้ แต่จะมุ่งเน้นการใช้สารที่มีฤทธิ์ตกค้างในพืซผลการเกษตรระยะสั้น ย่อยสลายได้ง่ายโดยธรรมชาติ และมีการจำกัดใช้เท่าที่จำเป็น นอกจากนี้สารบางชนิดที่มีความอันตรายสูงและมีฤทธิ์ตกค้างในพืชผลทางการเกษตรระยะยาว รัฐบาลได้ใช้มาตรการทางกฏหมาย พระราชบัญญัติวัตถุอันตรายในการประกาศห้ามใช้หรือนำเข้าสารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืชที่พบว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกรและผู้บริโภค อย่างไรก็ตามจากสถิติการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร (สารกำจัดวัชพืช, สารกำจัดแมลง และสารป้องกันและกำจัดโรคพืช) ของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2551-2561 ของกรมวิชาการเกษตรที่ผ่านมากลับพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยในปี พ.ศ. 2561 มีการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรจำนวน 170,932 ตัน คิดเป็นมูลค่า 36,298 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าข้อมูลในปี 2551 ที่มีการนำเข้า 109,908 ตัน คิดเป็นมูลค่า 19,182 ล้านบาท รวมปริมาณการนำเข้า 11 ปี จำนวน 1,663,780 ตัน มูลค่ารวม 246,715 ล้านบาท [1] สะท้อนให้เห็นว่านโยบายการจัดการของภาครัฐยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าจะมีการกำหนดให้การลดสารเคมีในการเกษตรเป็นกลยุทธสำคัญในแผนพัฒนาและแผนยุทธศาตร์ที่สำคัญต่าง ๆ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติและแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น อย่างไรก็ตามนโยบายต่าง ๆ เหล่านี้ก็ยังไม่สามารถส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรแบบอินทรีย์ได้ร้อยเปอร์เซนต์ ทั้งนี้อาจมีผลมาจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นต้นทุนทางการเกษตร ผลผลิตทางการเกษตร หรือขั้นตอนการกำจัดวัชพืชที่มีประสิทธิภาพไม่เทียบเท่าการใช้สารเคมี นอกจากนี้เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 มีรายงานการปฏิเสธสินค้าไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น และ สปษ. แคนเบอร์รา เนื่องจากมีสารปราบศัตรูพืชเกินค่าที่กำหนดในสินค้าเกษตร 6 รายการ สินค้าหลักๆ คือ ทุเรียนแช่แข็ง [1] ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเพิ่มโอกาสในการส่งออกพืชผลและผลิตพันธ์ทางการเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคนิคการตรวจวัดยาฆ่าแมลง/ยาปราบศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในอาหารในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ทำได้ง่าย ถูกต้อง รวดเร็ว และวัดที่ความเข้มข้นต่ำ ๆ ได้


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:48