ระบบอัตโนมัติแบบอัจฉริยะสำหรับการวัดฟีโนไทป์ของพืช
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2021
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2022
คำอธิบายโดยย่อ
การปรับปรุงพันธุ์พืช เกิดจากความต้องการของมุษย์ที่ต้องการให้ได้พันธุ์พืชที่ดี มีผลผลิตสูง ใน ปัจจุบันความรู้ด้านต่างๆ มีมากขึ้นและเข้าถึงได้ง่ายกว่าสมัยก่อนจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาพันธุ์พืชตามวิชาแขนงต่างๆ เช่น ชีวเคมี พฤกษศาสตร์ โรคพืชวิทยา และอื่นๆ ปัญหาที่เกษตรกรมักพบ เช่น โรคพืช ศัตรูพืช สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง การปรับปรุงพันธุ์พืชจึงเป็นเรื่องสำคัญ นักวิจัยได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของพืชเพื่อดูว่าจีโนไทป์ส่งผลต่อ ฟีโนไทป์อย่างไร เรียกว่าการทำ phenotyping ซึ่งเป็นที่แพร่หลายในต่างประเทศ ในประเทศไทยมีอัตราส่วนการเก็บข้อมูลและใช้ ประโยชน์จีโนไทป์เพื่อนำไปใช้งานมากกว่าฟีโนไทป์ เนื่องจากจีโนไทป์สามารถเก็บข้อมูลได้ง่ายกว่า แต่ฟีโนไทป์จะมีปัญหาทางด้านการเก็บข้อมูลของพืช ซึ่งใช้เวลาเก็บข้อมูลมาก นักวิจัยจึงขาดข้อมูลส่วน ของฟีโนไทป์ เพื่อเปรียบเทียบการแสดงออกจากการพัฒนาสายพันธุ์จากยีนโครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อสร้างระบบอัตโนมัติสำหรับศึกษาพฤติกรรมการเจริญเติบโตของพืชในระบบปิดโดยการเก็บข้อมูลภาพ และประมวลผลด้วย image processing และใช้ microcontroller ควบคุมสภาพแวดล้อมในการ เพาะปลูก ผลลัพธ์ที่ได้คือ สภาพแสง ปริมาณปุ๋ย ความชื้น ที่พืชต้องการ จะเป็นการตอบสนองของพืชใน สภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบพืชในสภาพแวดล้อมต่างกันได้และสามารถนำลักษณะที่พืช แสดงออกเหล่านี้ไปใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับจีโนไทป์ได้
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง