โครงการบ่มเพาะนักวิจัยศักยภาพสูง
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2022
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2022
คำอธิบายโดยย่อ
3.1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราและพลาสติกพีวีซีผสมขี้เลื่อยไม้ยางพารา (WPC)
งานวิจัยในส่วนแรกจะเน้นไปที่การศึกษาพฤติกรรมของโครงสร้างพื้นไม้หน้าตัดกลวง (Hollow slab) ที่ทำจากไม้ยางพาราที่ผ่านการปรับปรุงสมบัติด้วยความร้อนสูง(Thermal Treatment) ประสานด้วยกาวและเสริมกำลัง ภายใต้การรับน้ำหนักแบบสถิตย์และน้ำหนักบรรทุกแบบสลับทิศ โดยทำการศึกษาสมบัติเชิงกลของโครงสร้างพื้นที่ทำจากไม้ยางพาราที่ผ่านการปรับปรุงสมบัติด้วยความร้อนสูงและประสานด้วยกาวพร้อมเสริมกำลัง นอกจากนี้ยังทำการจำลองพฤติกรรมของโครงสร้างพื้นไม้หน้าตัดกลวงด้วยวิธีไฟไนเอลิเมนต์โดยใช้โปรแกรม ABAQUS เพื่อหารูปแบบการประสานด้วยกาว ตำแหน่งของการต่อไม้ และรูปแบบการเสริมกำลังที่เหมาะสม
งานวิจัยส่วนที่ 2 เน้นไปที่การนำขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมร่วมกับขี้เลื่อยไม้เนื้อแข็งและพลาสติกพีวีซี (Wood/PVC Composites or WPVC) ผ่านความร้อนและขึ้นรูปเป็นหน้าตัดตามต้องการและนำไปประกอบเป็นชิ้นส่วนโครงสร้างผนังรับแรงเพื่อใช้กับบ้านระบบ Log-house เพื่อศึกษาพฤติกรรมขององค์ประกอบต้านทานแรงด้านข้างที่ใช้ในระบบก่อสร้างแบบ Log-house ที่ผลิตจากวัสดุผสมระหว่างพลาสติกพีวีซีและขี้เลื่อยไม้ (WPVC) เมื่อต้านทานแรงด้านข้างในระนาบทั้งแรงแบบทิศทางเดียว (Monotonic) และแรงแบบสลับทิศ (Cyclic) โดยองค์ประกอบที่ทำการศึกษาประกอบด้วย จุดต่อระหว่างผนังกับฐานราก (Log-foundation Connection) จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ จุดต่อฐานเหล็กกล่อง จุดต่อฐานวัสดุผสม WPVC และจุดต่อเหล็กฉาก องค์ประกอบถัดมาคือ จุดต่อบริเวณมุม (Corner Joint) จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ จุดต่อแบบมาตรฐาน และจุดต่อแบบบากร่อง และองค์ประกอบสุดท้ายคือ แรงเสียดทานระหว่างชิ้นส่วนย่อย (Log Element)
งานวิจัยส่วนที่ 3 เป็นการต่อยอดงานวิจัยในส่วนที่สอง โดยองค์ประกอบต้านทานแรงด้านข้างที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจะถูกเลือกมาประกอบเป็นผนังขนาดจริง (ขนาดความกว้าง 1.5 เมตร สูง 1.0 เมตร) เพื่อศึกษาพฤติกรรมแบบองค์รวมเมื่อต้านทานแรงด้านข้างแบบทิศทางเดียวและแบบสลับทิศ นอกจากนี้แบบจำลองอย่างง่าย 2 มิติ จะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของผนังภายใต้แรงด้านข้าง แทนที่การทดสอบในห้องปฏิบัติการหรือการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองสามมิติที่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง แบบจำลองจะใช้ Beam Elements แทนชิ้นส่วนย่อย และใช้สปริงแทนจุดต่อระหว่างผนังกับฐานราก จุดต่อบริเวณมุม และผิวสัมผัสระหว่างชิ้นส่วนย่อย โดยค่าคงที่ของสปริงสามารถคำนวณได้จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการของงานวิจัยในส่วนที่สอง แบบจำลองที่สร้างขึ้นจะถูกนำไปสอบเทียบกับผลทดสอบผนังในห้องปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงผลการวิเคราะห์ให้มีความสอดคล้อง จากนั้นใช้แบบจำลองที่ผ่านการสอบเทียบศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของขนาดความกว้างและความสูงของผนังรวมถึงสมบัติของชิ้นส่วนย่อยที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจมีผลต่อพฤติกรรมของผนังประเภทนี้
3.2 การพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลด้านการวิจัยจากบทความในฐานข้อมูล TCI (ThaiVal)
การพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลด้านการวิจัยจากบทความในฐานข้อมูล TCI ที่จะดำเนินงานในโครงการนี้ จะเน้นไปที่การปรับปรุงชุดข้อมูลของวารสารไทยในฐานข้อมูล TCI เพื่อให้สามารถรองรับกับการพัฒนาระบบ ThaiVal โดยนำข้อมูลผลงานตีพิมพ์จากวารสารไทยในฐานข้อมูล TCI ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2563 มาทำการปรับปรุงชุดข้อมูล อาทิเช่น 1) การกำหนดสาขาวิชา (subject areas) และสาขาวิชาย่อย (sub-subject areas) ให้กับวารสาร 2) การกำหนด ID ให้กับผู้แต่ง และหน่วยงานต้นสังกัดของผู้แต่ง และ 3) การกำหนด organization type ให้กับหน่วยงานต่างๆ เช่น academic, corporate, government, medical และอื่นๆ เป็นต้น
คำสำคัญ
- กำหนดทิศทาง
- บ้านสำเร็จรูป
- ระบบวิเคราะห์ข้อมูล
- วัสดุผสมระหว่างพลาสติกและไม้
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง