Pattern of ornamental plant response under various stress
Principal Investigator
Co-Investigators
Other Team Members
No matching items found.
Project details
Start date: 01/10/2021
End date: 30/09/2022
Abstract
แนวโน้มการขยายตัวของเทคโนโลยีและชุมชนเมืองควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันถือเป็นแนวทางสำคัญที่ทั่วโลกตระหนักถึง SDGs (Sustainable Development Goals) หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความมุ่งเน้น การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลทั่วไปที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนเมือง ในส่วนของประเทศไทยในปัจจุบันยุคไทยแลนด์ 4.0 ทางภาครัฐได้มีการส่งเสริมให้เกิดโมเดลเศรษฐกิจที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งประกอบไปด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) โดยมุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จะเห็นได้ว่าทั่วโลกกำลังมุ่งขับเคลื่อนเทคโนโลยีสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
เทคโนโลยีด้านพืช อาทิ การใช้ต้นไม้ฟอกอากาศภายในอาคาร การใช้ต้นไม้เพื่อสร้างสุขภาพจิตที่ดี สร้างพื้นที่สีเขียวเพื่อความสวยงามทางด้านสถาปัตยกรรม ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยีสะอาดที่มีศักยภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการสร้างพื้นที่สีเขียวภายในอาคารจึงนับเป็นการสร้างเสริมการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนผู้อยู่อาศัยในชุมชนเมืองที่มีเนื้อที่ในการปลูกต้นไม้จำกัด อาทิ คอนโดมิเนี่ยม ออฟฟิศที่ทำงาน เป็นต้น ปัจจุบันมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากยืนยันว่าการปลูกต้นไม้ภายในอาคารมีส่วนช่วยควบคุมระดับมลพิษอากาศ อุณหภูมิ ของห้อง รวมทั้งมีส่วนช่วยลดความเครียดของผู้อยู่อาศัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอีกด้วย อย่างไรก็ตามการปลูกต้นไม้ภายในอาคารอาจมีข้อจำกัดหลายประการ อาทิ ปริมาณแสงที่ไม่เพียงพอ ประมาณน้ำที่ต้องควบคุมให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความเครียดกับต้นไม้ ซึ่งการลดความเครียดของต้นไม้ที่ปลูกภายในอาคารมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่ยังไม่มีการพัฒนาระบบตรวจวัดความเครียดของต้นไม้แบบรวดเร็ว ทันที ที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีการศึกษาเกี่ยวกับการตอบสนองต่อความเครียดของต้นไม้เป็นจำนวนมาก แต่การศึกษาส่วนมากเป็นการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งต้องใช้เวลามาก ต้องมีการเก็บตัวอย่างพืชมาสกัดเพื่อตรวจวัดระดับความเครียดของพืช การพัฒนาระบบตรวจวัดความเครียดของต้นไม้แบบ Real-time จึงนับเป็นความคิดที่ใหม่และน่าสนใจ อย่างไรก็ตามก่อนการพัฒนาระบบตรวจวัดความเครียดของต้นไม้จำเป็นต้องมีการสร้างฐานข้อมูล รูปแบบการตอบสนองทางชีวเคมีของต้นไม้ชนิดต่าง ๆ ภายใต้ความเครียดรูปแบบต่าง ๆ ก่อน เนื่องจากฐานข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาระบบตรวจวัดความเครียด เพื่อให้ “คนสามารถสื่อสารกันต้นไม้” ได้แบบ Real-time เข้าใจความเครียดของต้นไม้เพื่อการปรับสภาวะการเพาะปลูกให้เหมาะสมแก่การเจริญเติบโต รวมทั้งอาจนำไปผสมผสานกับเทคโนโลยีด้าน smart farming (เกษตรอัจฉริยะ) เพื่อปรับสภาวะการเพาะปลูกให้เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของพืชและพืชเกษตรแบบอัตโนมัติอีกด้วย
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ภายใต้การสนับสนุนของ MQDC มุ่งเน้นด้านงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อที่อยู่อาศัยภายใต้แนวคิด For All Well-being จึงได้มีความสนใจที่จะร่วมมือกับศูนย์วิจัย Remediation สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการผลักดันนวัตกรรมที่ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ากับการเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในอาคาร จึงเกิดเป็น โครงการการศึกษารูปแบบการตอบสนองต่อความเครียดของไม้ประดับ การสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชมีความจำเป็นต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารเมตาบอไลท์ต่าง ๆ ทั้งสารชีวภาพและเอนไซม์ที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อพืชได้รับสัมผัสกับสภาวะต่าง ๆ ผลการศึกษาวิจัยจะเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมระบบตรวจวัดความเครียดพืชแบบ real-time ในอนาคตต่อไป
Keywords
- Plant physiology
- plant stress
Strategic Research Themes
Publications
No matching items found.