การใช้เทคโนโลยี RNAi ในการออกแบบสารควบคุมโรคทางชีวภาพของเชื้อราก่อโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง Collectotrichum gleosporioides


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

โครงการนี้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ในยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงกับเป้าหมาย/แผนงานหลัก/ยุทธศาสตร์ของอววน. Platform 2 ด้านการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคมทางด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและเกษตร โดยมีเป้าหมายในการช่วยลดปริมาณสารเคมีจากภาคการเกษตร สร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรเติบโต สมดุล ยั่งยืน ทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยการมุ่งเน้นแก้ปัญหาด้านมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีการส่งออกเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย และมีการปลูกกันเกือบทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองก็เป็นผลไม้ที่ไม่ทนต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคแอนแทรคโนสที่เกิดจากเชื้อรา ในกลุ่ม Collectotrichum sp. โดยส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรนิยมใช้สารเคมีในการควบคุมโรค โดยมิได้ตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งแก่ตนเอง ผู้บริโภค หรือสิ่งแวดล้อม

การใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่เช่นกระบวนการยับยั้งอาร์เอ็นเอ (RNA interference; RNAi) เพื่อนำมาช่วยในการวิเคราะห์ และสังเคราะห์สารชีวภัณฑ์ที่ยับยั้งเชื้อราก่อโรคในมะม่วงได้อย่างจำเพาะนอกจากจะเป็นการพัฒนาความมั่งคงทางด้านการเกษตรและอาหารของประเทศแล้ว ยังทำให้เกษตรกรลดปริมาณการใช้สารเคมี ส่งผลให้เกษตรมีสุขภาพที่ดีขึ้น ลดรายจ่ายที่เกิดจากการใช้สารเคมี ทำให้สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางด้านสังคมให้แก่เกษตรกรอีกด้วย 


คำสำคัญ

  • การยับยั้งอาร์เอ็นเอ
  • เชื้อรา Collectotrichum gleosporioides
  • มะม่วงน้ำดอกไม้
  • โรคแอนแทรคโนส
  • สารชีวภัณฑ์


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:48