The Cultivation of Microalgae using Wastewater from Water Recirculating System of Raising Tilapia


Principal Investigator


Co-Investigators

No matching items found.


Other Team Members


Project details

Start date01/10/2021

End date30/09/2022


Abstract

ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีการเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก และได้มีการพัฒนาไปเป็นอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเลี้ยงแบบธรรมชาติในอดีตถูกแทนที่ด้วยการเลี้ยงแบบกึ่งพัฒนาและแบบพัฒนา ซึ่งเป็นการเลี้ยงแบบหนาแน่นเพื่อให้ได้ผลผลิตเพียงพอต่อการบริโภคและส่งออก ทำให้เกิดการเร่งการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ทั้งวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์และและทรัพยากรน้ำ ทั้งยังทำให้มีปริมาณของเสียจากการเพาะเลี้ยงเพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก ด้วยเหตุนี้ หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จึงเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีความยั่งยืน โดยอาศัยหลักการใช้ทรัพยากรให้มีการหมุนเวียนได้มากที่สุด หรือการเปลี่ยนจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาเป็นการใช้ทรัพยากรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Renewable Resources) หรือนำทรัพยากรที่มาจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (Re-Material) มาใช้ในกระบวนการผลิต รวมถึงเป็นการลดปริมาณการเกิดของเสียให้น้อยที่สุดตลอดทั้งกระบวนการ

ระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบน้ำหมุนเวียน (Recirculating Aquaculture System, RAS) ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญในการสนับสนุนให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า เนื่องจากช่วยลดปริมาณของเสียที่จะปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม สามารถเพาะเลี้ยงสัตว์นำได้ที่ความหนาแน่นสูง โดยการควบคุมคุณภาพนํ้าระหว่างการเลี้ยง ทำให้ประหยัดทรัพยากรนํ้า อย่างไรก็ตาม ระบบ RAS ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงกว่าการเลี้ยงแบบธรรมชาติ เพราะจำเป็นต้องใช้พลังงานในการเติมอากาศและหมุนเวียนน้ำ ด้วยเหตุนี้การนำน้ำเสียที่ออกจากระบบ RAS มาใช้ให้เกิดประโยชน์น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดค่าใข้จ่าย และกระตุ้นให้เกษตรกรนำระบบนี้ไปใช้งานมากขึ้น

การบำบัดน้ำเสียโดยการนำมาใช้เพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากใช้พลังงานน้อย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีศักยภาพในการบำบัดสูง เนื่องจากสาหร่ายสามารถเจริญเติบโตเพิ่มชีวมวลได้อย่างรวดเร็ว โดยสารประกอบไนโตรเจนในน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งแอมโมเนียและไนเตรทซี่งต่างก็เป็นสารอาหารหลักสำหรับการเจริญเติบโตของสาหร่าย จะถูกใช้ร่วมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และออกซิเจน เป็นสารตั้งต้นในการสร้างโปรตีน กรดนิวคลีอิก และรงควัตถุต่างๆภายในเซลล์ผ่านกระบวนสังเคราะห์แสง ด้วยเหตุนี้ นอกจากจะสามารถบำบัดน้ำเสียและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้แล้ว ยังได้ผลผลิตชีวมวลรวมถึงสารมูลค่าสูงในเซลล์สาหร่ายเป็นผลพลอยได้อีกด้วย ดังนั้นการทราบถึงประสิทธิภาพของสาหร่ายขนาดเล็กสายพันธุ์ต่างๆที่นำมาเลี้ยงในน้ำเสียที่ออกจากระบบ RAS ในด้านของปริมาณผลผลิตชีวมวลสาหร่าย องค์ประกอบสารมูลค่าสูง ความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย และความสะดวกในการเก็บเกี่ยว รวมทั้งความเป็นไปได้เชิงเศรษฐศาสตร์ จะเป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจของเกษตรกรในการเลือกใช้สายพันธุ์สาหร่ายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด


Keywords

No matching items found.


Strategic Research Themes


Publications

No matching items found.


Last updated on 2025-14-01 at 09:48