การทดสอบความแข็งแรงของ Flat Wagon-Underframe ภายใต้สภาวะโหลดและการวัดความเครียด เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/09/2021
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 31/08/2022
คำอธิบายโดยย่อ
ในปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญในการขยายโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมระบบรางภายในประเทศทำให้เกิดโครงการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมระบบรางในหลายพื้นที่ การขยายตัวดังกล่าวทำให้กิจกรรมและมูลค่าทางเศรษฐกิจของเทคโนโลยีระบบรางภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าภาคเอกชนในประเทศยังมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับงานระบบรางค่อนข้างน้อย จากเหตุดังกล่าวเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศจึงควรจะให้มีการส่งเสริมภาคเอกชนภายในประเทศให้มีศักยภาพการแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีและให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นจากการขยายตัวของระบบรางในประเทศได้ ด้วยเหตุนี้งานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาส่วน Flat wagon-Underframe ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Local content ที่สามารถผลิตโดยใช้วัสดุภายในประเทศ โดยประกอบไปด้วยเหล็กรีดร้อน 3 เกรดคือ SS400 SS450 และ S355JR ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นำมาใช้ในชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบรางที่เป็นส่วนหนึ่งของตัวรถ Rolling stock การทดสอบความแข็งแรงของชิ้นส่วน Flat Wagon-Underframe ของรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าสำหรับการบรรทุกตู้สินค้า (Bogie Container Flat Wagon) จึงมีความสำคัญในการประเมิณมาตรฐานการใช้งานเพื่อให้ผ่านเกณฑ์ที่จะเข้าสู่การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้ โดยการวิเคราะห์และทำนายความต้านทานการเสียรูปของชิ้นส่วน Flat Wagon-Underframe ที่ภาระสถิต (Static load) ของ Flat Wagon-Underframe ในสภาวะการรับแรงแบบต่างๆ โดยมีเงื่อนไขการทดสอบตามมาตรฐานที่การรถไฟแห่งประเทศไทยกำหนด ระเบียบวิธีการทางไฟไนต์เอลิเมนต์ถูกนำมาใช้ในการคาดการณ์ประสิทธิภาพความต้านทานการเสียรูปของชิ้นงานและเปรียบเทียบกับการทดสอบบรรทุกจริงเพื่อให้เกิดความแม่นยำสูงสุดและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชิ้นส่วนต่างๆที่มีลักษณะการรับแรงแบบเดียวกัน สุดท้ายแล้วโมเดลการศึกษานี้จะสามารถเป็นตัวแทนในการทำนายการเสียรูปของชิ้นงานผ่านโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ที่มีความแม่นยำเมื่อเปรียบเทียบกับการทดสอบจริง ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นและลดการทดสอบจริงไปได้บางส่วน นอกเหนือจากนั้นยังเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการในการลดต้นทุนและเป็นการพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยีในทำการจำลองโมเดลทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถออกแบบและพัฒนาการผลิตชิ้นส่วนได้ในอนาคต ซึ่งเป็นการลดการนำเข้า การพึ่งพาจากจากต่างประเทศและมีส่วนในการพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้มีการปรับตัวด้านเทคโนโลยีการผลิตและออกแบบได้ดียิ่งขึ้น โดยผู้ประกอบการจะมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการวิเคราะห์ชิ้นงานต่างๆมากขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทาน (Supplier Chain) ให้เกิดขึ้นภายในประเทศที่จะสนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนและมีส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจในงานระบบรางต่อไป
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง