การศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แอนโทไซยานิน และการวิเคราะห์ลำดับเบสและสังเคราะห์ข้อมูลการถอดรหัสที่ส่งผลต่อการแสดงออกของยีนที่แตกต่างกันด้วยทรานสคริปโตมในกล้วยไม้สกุลแวนด้าพันธุ์ ‘Sansai Blue’ หลังจากได้รับเอทิลีนจากภายนอก


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

โครงการวิจัยนี้เป็นการทดลองและพัฒนาต่อยอดงานวิจัยในเชิงลึกเพื่อเข้าใจถึงกลไกการเสื่อมสภาพของดอกกล้วยไม้สกุลแวนด้าที่ถูกชักนําโดยเอทิลีนจากภายนอกในระดับชีวโมเลกุลด้วยการศึกษาการแสดงออกของยีนทีเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในกลีบดอก รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีโอมิกส์ (omics methodologies) ซึ่งกําลังเข้ามามีบทบาทสําคัญในการเปลี่ยนแปลงการทําวิจัยในด้านต่าง ๆ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการตรวจวัดที่ถูกลง และมีประสิทธิภาพในการวัดที่สูงขึ้น เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถนํามาใช้ในการตรวจวัดระดับการทํางานหรือปริมาณของชีวโมเลกุลเป็นจํานวนมากแบบพร้อมๆกัน (multiplexing) อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบความแตกต่างของหลายตัวอย่างทดลองในระยะเวลาอันสั้น (high throughput) ทรานสคริปโตมิกส์ (transcriptomics) จึงถูกนํามาใช้สําหรับวัดความแตกต่างของปริมาณ messenger RNA และเมื่อมีการนําข้อมูลของชีวโมเลกุลทุกชนิดมาแปรผลร่วมกันตามแนวทางวิจัยเชิงระบบก็จะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลคุณภาพขนาดใหญ่เกี่ยวกับระบบชีวภาพ และเข้าใจถึงกลไกและสาเหตุการเสื่อมสภาพของดอกกล้วยไม้ที่ถูกชักนําโดยเอทิลีนจากภายนอกในเชิงลึกได้อย่างบูรณาการเพื่อหาแนวทางในการชะลอ หรือ ป้องกันการเสื่อมสภาพของดอกกล้วยไม้ในขั้นตอนต่อไป


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:48