Production and Utilization of fermented palm kernel cake as alternative source of protein in animal feed by solid state fermentation
Principal Investigator
Co-Investigators
No matching items found.
Other Team Members
Project details
Start date: 17/05/2021
End date: 16/11/2022
Abstract
ปัจจุบันได้มีการศึกษาการนำกากเนื้อในเมล็ดปาล์ม (Palm Kernel cake ; PKC) ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันปาล์ม และสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์อย่างแพร่หลายทั้งในสัตว์ปีก สัตว์เคี้ยวเอื้องและสัตว์กระเพาะเดี่ยว เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนะในส่วนของโปรตีนและพลังงานที่สามารถนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้ กากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันที่ได้มาจากแหล่งต่างๆ อาจจะมีองค์ประกอบโภชนะแตกต่างกัน ซึ่งการวิเคราะห์องค์ประกอบโปรตีนของกากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันจากโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มที่จะนำมาศึกษาในโครงการวิจัยนี้ พบว่ามีโปรตีนร้อยละ 14 การนำกระบวนการหมักมาใช้เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนะของกากเมล็ดธัญพืชโดยการเพิ่มปริมาณโปรตีนในอาหารสัตว์เป็นวิธีการหนึ่งในการแก้ปัญหาอาหารสัตว์ที่มีปริมาณโปรตีนต่ำ โดยทั่วไปนิยมใช้วิธีการหมักแบบอาหารแข็ง เนื่องจากมีต้นทุนต่ำ และให้ผลผลิตสูง นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่น ๆ จากผลผลิตของจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักที่สัตว์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เช่น เอนไซม์โปรติเอส อะไมเลส เซลลูเลส และไซลาเนส เป็นต้น ดังนั้นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เลือกใช้ในการหมักส่วนใหญ่จึงเป็นกลุ่มที่เป็นพวกจุลินทรีย์โปรไบโอติก เพื่อให้สามารถใช้ในอาหารสัตว์ได้อย่างปลอดภัย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตกากเนื้อในเมล็ดปาล์มหมัก เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนะปริมาณโปรตีนในกากเนื้อในเมล็ดปาล์ม โดยวิธีการหมักแบบอาหารแข็งด้วยการใช้จุลินทรีย์โปรไบโอติกกลุ่มยีสต์ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ Saccharomycopsis fibuligera TISTR 5033 และ Saccharomyces cerevisiae TISTR 5623 และกลุ่มแบคทีเรีย 2 สายพันธุ์ ได้แก่ Bacillus subtilis TISTR 1528 และ Bacillus licheniformis TISTR 013 เพื่อคัดเลือกและหาสภาวะที่เหมาะสมสําหรับการผลิตเอนไซม์และโปรตีนจากกากเนื้อในเมล็ดปาล์มด้วยกระบวนการหมักแบบอาหารแข็ง โดยใช้กากน้ำตาลและยูเรียเป็นแหล่งอาหารเสริมสำหรับจุลินทรีย์ และศึกษาการเตรียมตัวอย่างด้วยเอนไซม์มาใช้ก่อนกระบวนการหมักของกากเนื้อในเมล็ดปาล์ม เพื่อเปรียบเทียบกับกรณีการไม่ใช้การเตรียมตัวอย่างด้วยเอนไซม์ โดยมีเป้าหมายผลิตภัณฑ์เป็นกากเนื้อในเมล็ดปาล์มหมักที่มีคุณค่าทางโภชนะในส่วนของโปรตีนเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 และมีเอนไซม์โปรติเอสและ อะไมเลสที่ได้จากการหมัก เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์ปีก ซึ่งการนำเศษวัสดุเหลือใช้เหล่านี้มาเพิ่มมูลค่าโดยการเพิ่มปริมาณโปรตีนให้สูงขึ้นเพียงพอต่อความต้องการของสัตว์จึงเป็นการลดต้นทุนการผลิตและใช้ทรัพยากรที่มีอย่างคุ้มค่า เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร และยังเป็นการช่วยลดวัสดุเหลือทิ้งให้กับโรงงานแปรรูปน้ำมันปาล์มอีกด้วย
Keywords
- animal feed enzymes
- palm kernel cake
- Probiotic
- Protein
- Solid-state fermentation
Strategic Research Themes
Publications
No matching items found.