การประเมินคุณสมบัติทางชีวภาพของลิกนิน ในด้านการยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase และ การต้านแบคทีเรีย


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

  • สารชีวมวล (biomass) เป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวางในเรื่องของการเป็น 1 ในแหล่งพลังงานทางเลือก เพื่อทดแทนพลังงานตามธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจากัด โดยแหล่งกาเนิดของสารชีวมวลที่สาคัญของประเทศไทย คือ สิ่งที่หลงเหลือจากเกษตรกรรม เช่น ชานอ้อย ฟางข้าว ทะลายปาล์ม เป็นต้น ข้อดีของการนาสิ่งเหลือใช้จากเกษตรกรรมมาเปลี่ยนสภาพให้เป็นสารชีวมวล คือ เป็นการแปรรูปสิ่งเหลือใช้จากผลผลิตทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าและทาให้เกิดประโยชน์มากขึ้น นอกจากความสามารถในด้านการเป็นแหล่งพลังงานที่สะอาด ปลอดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของพลังงานจากสารชีวมวลแล้ว ส่วนประกอบของสารชีวมวลโดยเฉพาะ LIGNIN ซึ่งเป็น aromatic polymer ที่พบมากที่สุดในธรรมชาตินั้น ยังมีความสามารถด้านการแพทย์ อันเนื่องมาจากการมีโครงสร้างของ polyphenol เป็นส่วนประกอบอีกด้วย ซึ่งโครงสร้าง polyphenol นี้เอง ทาให้ lignin มีประสิทธิภาพด้านการเป็นสาร anti-oxidant มีประสิทธิภาพด้านการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (anti-microbial) และมีประสิทธิภาพด้านการยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase (tyrosinase inhibitor) ซึ่งเป็นเอนไซม์ตัวแปรที่สาคัญในการสร้างเม็ดสีผิวของมนุษย์ ถ้ากระบวนการสร้างเม็ดสีผิวขาดความสมดุล เช่น มีการทางานที่มากจนเกินพอดี อาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดจุดด่างดาบนผิวหนัง (age spots) หรือแม้กระทั่งมีการพัฒนาไปเป็นมะเร็งเม็ดสีผิว (melanoma) ได้ในที่สุด จึงมีการนาคุณสมบัติด้านการเป็น tyrosinase inhibitor ของ lignin มาใช้ในเครื่องสาอางค์จาพวก whitening อีกด้วย อนึ่ง ข้อควรพึงระวังในการสกัด lignin เพื่อนาคุณสมบัติทางชีวภาพมาใช้งาน คือ แหล่งพืชชีวมวลของ lignin และวิธีการสกัด lignin ที่แตกต่างกัน จะส่งผลถึงโครงสร้างที่มีความเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติทางชีวภาพของ lignin
  • ​​​​​​​ด้วยเหตุนี้ เพื่อการดึงศักยภาพของ lignin จากพืชชีวมวลให้ออกมาให้ได้มากที่สุด ทางคณะผู้วิจัยจึงต้องการทาการเปรียบเทียบคุณสมบัติทางชีวภาพด้านต่าง ๆ ตามที่กล่าวมา โดยมีตัวแปรที่สาคัญคือ แหล่งของ lignin ที่ต่างกัน 3 แหล่ง มาสกัดด้วยวิธีที่ต่างกัน 2 วิธี เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการที่ดีที่สุด มีความเสถียรในการผลิต เพื่อนา lignin ที่มีคุณภาพสูงไปต่อยอดการใช้งานด้านอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:48