Enabling waste management scheme in response to disaster and climate change


Principal Investigator


Co-Investigators

No matching items found.


Other Team Members


Project details

Start date01/11/2021

End date31/10/2024


Abstract

โครงการนี้เป็นการเสนอแนวทางในการสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานของประเทศไทยสองหน่วยงานได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT)นำ โดยรศ.ดร.สิรินทรเทพ เต้าประยูร และภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU) นำโดยรศ.ดร.ชาติ เจียมชัยศรี ร่วมกับ Center of Materials Recycle and Waste Management Research , National Institute for Environmental Study (NIES) นำโดยDr. Tonomori Ishigaki ซึ่งทั้งสามได้ร่วมกันจัดตั้ง NIES-KMUTT-KU Collaborative Research Laboratory(CRL) ขึ้นที่ประเทศไทย

ทั้งสามหน่วยงานภายใต้CRLได้มีกิจกรรมร่วมกันทั้งการแลกเปลี่ยนนักวิจัยและการทำวิจัยร่วมทั้งด้านเทคโนโลยีในการกำจัดขยะมูลฝอยและการจัดการขยะเฉพาะทางโดยเฉพาะทางด้านการจัดการขยะนํ้าท่วมที่มี CRL ได้ร่วมจัดทำภาษีเจริญโมเดลสามารถจัดการขยะนํ้าท่วมกองใหญ่ได้ภายใน7วัน ซึ่งต่อมาได้ขอรับการสนับสนุนจากเครือข่ายเอเชียแปซิฟิกจัดทำคุ่มือจัดการขยะนํ้าท่วมสำหรับกทม.และหน่วยงานในเมืองใหญ่ โครงการนี้ทั้งสามหน่วยงานใช้องค์ความรู้ และประสบการณ์ของแต่ละหน่วยงานร่วมกันในรูปแบบของmultidisciplinary เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเชิงป้องกันตั้งรับเพื่อบรรเทาความเสียหายเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้น

โครงการพัฒนาความเข้มแข็งแบบแผนการจัดการขยะเพื่อตอบสนองผลจากภัยพิบัติและจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เสนอขอรับการสนับสนุนนี้เป็นการทำงานวิจัยผ่านการจัดการขยะภัยพิบัติโดยใช้กรณีCovid 19 เป็นกรณีศึกษา และการจัดการขยะจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเน้นขยะพลาสติกทั้งการกำจัดและการใช้ประโยชน์

ขยะภายใต้สถานะการณ์ภัยพิบัติเช่นนี้มีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งปริมาณ และองค์ประกอบ การจัดการขยะที่เกิดขึ้นขณะที่ระบาดและหลังการระบาดต้องการการจัดการที่สร้างความมั่นใจให้กับชุมชนในความปลอดภัย และในขณะเดียวกันต้องมีการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมภายใต้หลักการcircular economy ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่ เสนอการจัดการขยะที่เกิดขึ้นภายใต้สถานะการณ์เหล่านี้ แต่ยังไม่มีการจัดทำคู่มือในการจัดการที่ครบวงจรตั้งแต่การคัดแยกเก็บขน บำบัดและกำจัดขั้นสุดท้าย รวมทั้งศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ ที่ครอบคลุมทุก ขั้นตอนและทุก stakeholders ทั้งของรัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดการจัดการอย่างเป็นระบบและถูกต้อง กลุ่ม CRL จึงได้เสนอกิจกรรมในการจัดทำคู่มือการจัดการขยะทั้งสองประเภทตั้งแต่ต้นทางจนถึงการปฏิบัติจริงในพื้นที่ให้เป็นต้นแบบเพื่อพร้อมขยายสู่ชุมชนอื่น ในประเทศละต่างประเทศต่อไป ข้อเสนอโครงการนี้เป็นการใช้ประสพการณ์ที่ผ่านมาจากการทำงานร่วมกัน นอกจากการร่วมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายที่มีอยู่แล้วในระดับประเทศให้มุ่งสู่ระดับภูมิภาค ยังเกิดประโยชน์ในเชิงการจัดการสิ่งแวดล้อมในประเด็นปัญหาเร่งด่วนและเป็นปัจจุบันของโลกอีกด้วย

ผลผลิตจากงานวิจัยคือคู่มือการจัดการขยะทั้งสองประเภท ตั้งแต่ต้นทาง(แหล่งกำเนิด การคัดแยก การเก็บขน) กลางทาง(การบำบัดและกำจัด) และปลายทาง (การนำไปใช้ประโยชน์) ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อันได้แก่ หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการเฝ้าระวัง เก็บขนกำจัด หน่วยงานเอกชนทั้งที่เกี่ยวข้องกับการกำจัด ขนถ่ายและrecycle รวมทั้งประชาชนและชุมชนทั่วไปที่ต้องทำหน้าที่ในการคัดแยก จัดเก็บและส่งต่อ โดยการจัดทำคู่มือนี้ เน้นทั้งด้านสาธารณสุข ด้านสังคม ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วย นอกจากนี้เพื่อให้การดำเนินครบวงจร ได้เสนอให้มีการนำมือการใช้คู่สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ศึกษา สองพื้นที่ เพื่อดูความเป็นไปได้ในการใช้จริงและนำกลับมาพัฒนา

ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการสร้างความเข้มแข็ง คือการเพิ่มความรู้ให้กับบุคลากรและเพิ่มบุคลากรที่ต้องการองค์ความรู้ด้านนี้ผ่านการแลกเปลี่ยนนักวิจัย และการฝึกอบรมผ่านหลักสูตรที่จัดทำขึ้น รวมทั้งเกิดบทความทางวิชาการในวารสารนานาชาติระดับQ1 และโครงการวิจัยร่วมที่เกิดจากการต่อยอดโครงการในอนาคต

นอกจากนี้ทีมวิจัยคาดว่าสามารถนำผลที่ได้จากการสนับสนุนนี้มุ่งสู่การเป็นhub ด้านการจัดการขยะภัยพิบัติในเอเชียไดhภายใน5ปี โดยขยายผลการดำเนินการที่เป็นกระบวนการสาธิตขยายออกสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ต่อไป ทั้งสามหน่วยงานจะได้วางแผนในการแสวงหาทุนวิจัยจากต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานเมื่อสิ้นสุดกาสนับสนุน การเกิดHub ด้านการจัดการขยะภัยพิบัติในเอเชียขึ้นในประเทศไทยจะช่วยยกระดับความเป็นสากลและได้รับการยอมรับด้านจัดการขยะและเทคโนโลยีในการจัดการ เพิ่มศักยภาพและจำนวนของนักวิจัย รวมทั้งมีความพร้อมในการตั้งรับขยะที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ลดความเสียหายทั้งทางด้านสาธารณะสุข ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ หากไม่มีการตั้งรับที่ดีความเสียหายอาจเกิดขึ้นจนประมาณการไม่ได้


Keywords

  • การจัดการขยะ,ขยะจากภัยพิบัติ,ขยะพลาสติก,การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, Solid waste management,Disaster waste,Plastic waste,Network STrengthening,Network strengthening: S&T


Strategic Research Themes


Publications

No matching items found.


Last updated on 2025-08-07 at 14:10