Transferring technology of non-destructive counterfeit documents examination using innovative green nanomaterial to forensic scientists


Principal Investigator


Co-Investigators

No matching items found.


Other Team Members

No matching items found.


Project details

Start date14/01/2022

End date13/01/2023


Abstract

ข้อเสนอโครงการนี้เป็นการขยายผลจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง “นวัตกรรมวัสดุนาโนสีเขียวสำหรับตรวจพิสูจน์การปลอมแปลงเอกสารโดยไม่ทำลายตัวอย่าง” ซึ่งได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น รางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นการพัฒนาคอลลอยด์ของอนุภาคนาโนเงิน (Green colloidal SERS) สำหรับตรวจพิสูจน์หมึกปากกาแบบไม่ทำลายวัตถุพยานเอกสารและไม่ทำละลายหมึกปากกา ซึ่ง Green colloidal SERS สามารถเตรียมขึ้นได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยใช้เวลาในการเตรียมเพียงแค่ 3 นาที ด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้วัสดุจากธรรมชาติที่มีภายในประเทศไทย ใช้ต้นทุนต่ำ และลดการนำเข้าสารเคมีสำเร็จรูปประเภทเดียวกันนี้จากต่างประเทศ มีวิธีการใช้งานง่ายเพียงแค่นำ Green colloidal SERS ปริมาตร 2 µl หยดบนเอกสารต้องสงสัยบริเวณตำแหน่งหมึกปากกาที่ต้องการตรวจพิสูจน์การปลอมแปลงหรือตรวจเปรียบเทียบ แล้วนำไปตรวจวัดด้วยเครื่องรามานสเปกโตรมิเตอร์ได้ทันที ซึ่ง Green colloidal SERS จะช่วยขยายสัญญาณรามานของหมึกปากกาให้มีความเข้มสูงขึ้นมากกว่า 10 เท่าของสัญญาณรบกวน ทำให้ผู้ตรวจพิสูจน์ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของหมึกปากกา สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการจำแนกโมเลกุลองค์ประกอบ สีของหมึกปากกา และประเภทของตัวทำละลายในหมึกปากกา ซึ่งจะบ่งบอกถึงชนิดของรงควัตถุหรือสีย้อมที่ทำให้เกิดสี และชนิดของหัวปากกา เช่น ปากกาลูกลื่น ปากกาหมึกซึม และปากกาโรลเลอร์บอล นอกจากนั้นยังสามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันเพื่อบอกว่าหมึกปากกาที่เขียน ณ ตำแหน่งต่างๆ มาจากหมึกชนิดเดียวกันหรือไม่

ผลงานวิจัยและนวัตกรรมดังกล่าวนี้ เป็นประโยชน์ต่อสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจในการตรวจพิสูจน์เอกสารต้องสงสัยที่มีการปลอมแปลงเอกสารและ/หรือแก้ไข-ต่อเติม ซึ่งเป็นภารกิจหลักของกลุ่มงานตรวจเอกสารร่วมกับกลุ่มงานตรวงทางเคมี ฟิสิกส์ ในการตรวจพิสูจน์โดยการเปรียบเทียบชนิดของหมึกและชนิดของเอกสาร แทนวิธีการในปัจจุบันที่มีข้อจำกัด คือ ไม่สามารถแยกความแตกต่างของหมึกปากกาที่มีความสามารถในการเรืองแสงเหมือนกันได้ ไม่สามารถทราบองค์ประกอบทางเคมีของหมึกปากกาได้ หรือหากสามารถจำแนกองค์ประกอบได้ก็จะต้องมีการตัดวัตถุพยานเอกสารไปตรวจพิสูจน์ซึ่งเป็นการทำลายเอกสาร

ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอาองค์ความรู้ที่สมบูรณ์แล้ว ขยายผลอย่างเป็นรูปธรรมผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต Green colloidal SERS และกระบวนการตรวจพิสูจน์หมึกปากกาแบบไม่ทำลายวัตถุพยานเอกสารและไม่ทำละลายหมึกปากกา ให้แก่ตัวแทนเจ้าหน้าที่กลุ่มงานตรวจเอกสารและกลุ่มงานตรวจทางเคมี ฟิสิกส์ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง และศูนย์พิสูจน์หลักฐานทั้ง 10 ศูนย์ ทั่วประเทศไทย เพื่อประโยชน์เชิงความมั่นคงของประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้แก่สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจกับหน่วยงานที่มีเครื่องรามานสเปกโตรมิเตอร์ซึ่งกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ให้ผู้ปฏิบัติงานประจำเครื่องมือสามารถสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจได้ในอนาคต


Keywords

  • การตรวจพิสูจน์หมึกปากกา
  • นิติวิทยาศาสตร์
  • พื้นผิวขยายสัญญาณรามาน
  • รามานสเปกโทรสโคปี
  • วัสดุนาโน


Strategic Research Themes


Publications

No matching items found.


Last updated on 2025-07-02 at 13:59