การพัฒนามือหุ่นยนต์สำหรับระบบหุ่นยนต์ควบคุมระยะไกล


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และปัญญาประดิษฐ์ตาม New S-Curve และเพื่อรองรับเทคโนโลยีในอนาคต เช่น 5G, Internet of Things, และ Robotics for Life การพัฒนางานวิจัยพื้นฐานเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านหุ่นยนต์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้การประยุกต์ใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมในปัจจุบัน 


ระบบรูปแบบหนึ่งที่สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายในอนาคต คือระบบควบคุมระยะไกล (Telepresence System) ซึ่งเป็นระบบที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ปฏิบัติงานจากระยะไกลได้เนื่องจากผู้ใช้ (Operator) นั้นอาจมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถทำให้มาปฏิบัติงานในสถานที่จริงได้ เช่น การประชุมแบบ Teleconference เมื่อผู้ที่ร่วมประชุมไม่สามารถไปที่สถานที่ประชุมได้ ผู้ที่ร่วมประชุมสามารถเข้าใช้ระบบ Teleconference และประชุมจากต่างที่ ระบบที่กล่าวข้างต้นเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการทำงานขององค์กรต่างๆมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจคุมคุณภาพงานจากระยะไกลในโรงงาน หรือจะเป็น การตรวจเช็คและวินัจฉัยโรคจากระยะไกลจากโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในโลกทางกายภาพให้มากขึ้น ระบบควบคุมระยะไกลนี้มักจะเชื่อมต่อกับหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการเคลื่อนที่ หุ่นยนต์นี้มีมักถูกเรียกว่า หุ่นยนต์ระยะไกล (Telepresence Robot) ซึ่งสามารถรับรู้ ภาพ วีดีโอ และเสียง และส่งข้อมูลเหล่านี้ไปยังผู้ที่ควบคุมจากระยะไกลและยังสามารถเคลื่อนที่ทั้งภายในและภายนอกอาคารได้


เพื่อต่อยอดและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานในด้านการหยิบจับของหุ่นยนต์ควบคุมระยะไกล ให้สามารถทำงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โครงการการพัฒนามือหุ่นยนต์สำหรับระบบหุ่นยนต์ควบคุมระยะไกลจึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อวิจัยและพัฒนาต้นแบบของมือหุ่นยนต์ให้มีความสามารถในการจับวัตถุที่มีความหลากหลาย มีรูปร่าง และลักษณะการทำงานใกล้เคียงกับมือมนุษย์ ในเบื้องต้นเป็นการทดสอบการทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมมือหุ่นยนต์ เมื่อการทดสอบเสร็จสิ้นแล้วจึงจะนำไปพัฒนาร่วมกับระบบควบคุมระยะไกล ทั้งนี้เมื่อระบบควบคุมระยะไกลเสร็จสมบูรณ์จึงสามารถนำไปพัฒนาร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ อาทิเช่น ระบบความจริงเสริม (Augmented Reality) เทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual Reality) หรือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) โดยโครงการมุ่งหวังว่าจะสามารถพัฒนา แก้ไขข้อผิดพลาดของมือหุ่นยนต์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมือมนุษย์ เข้าถึงเทคโนโลยีมือหุ่นยนต์ได้ง่ายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป และสอดคล้องกับการระบาดของโรค COVID-19 ทำให้มีความยากลำบากในการทำงานร่วมกัน 


นอกจากนี้ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ควบคุมระยะไกลได้รับความสำคัญเพิ่มมากขึ้นโดยในปัจจุบันได้มีการจัดการแข่งขันระดับโลกในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เช่น การแข่งขันโครงการ ANA Avatar XPRIZE ในปี2020 ซึ่งทีม FIBO XPRIZE ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นทีมเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ โดยโครงการการพัฒนามือหุ่นยนต์สำหรับระบบหุ่นยนต์ควบคุมระยะไกล จะถูกนำไปใช้ในการแข่งขั้นนี้ด้วยเช่นกัน


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:48