การประเมินรอยแตกพื้นผิวเชิงปริมาณของรางรถไฟด้วยการทดสอบแบบไม่ทำลายวิธีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าโดยอาศัยกระบวนการแบบย้อนกลับ


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

เนื่องด้วยปัจจุบันการพัฒนาระบบขนส่งทางรางภายในประเทศไทยมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทั้งทางด้านการออกแบบและสร้างอุปกรณ์และชิ้นส่วนรถไฟสมัยใหม่ การพัฒนาวิธีเชื่อมประกอบรางรถไฟ และการทดสอบคุณภาพของรางรถไฟ ซึ่งการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมสำหรับระบบขนส่งทางรางดังกล่าวได้ถูกนำเสนอในโครงการวิจัยสำหรับระบบรางขั้นสูง (Advanced railway research) สำหรับทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน (Fundamental Fund; FF) ดังนั้นเพื่อเป็นการเติมเต็มงานวิจัยทางด้านการตรวจสอบและซ่อมบำรุงระบบราง (Railway inspection and maintenance) จึงมีแนวคิดงานวิจัยทางด้านการประเมินขนาดของรอยแตกพื้นผิว (Surface crack) ของรางรถไฟที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมประกอบและการใช้งานของรางรถไฟ

ทางคณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการทดสอบและประเมินผลแบบไม่ทำลาย (Non-destructive testing and evaluation) เล็งเห็นปัญหาและความสำคัญดังกล่าว จึงได้นำเสนอโครงการ “การประเมินรอยแตกพื้นผิวเชิงปริมาณของรางรถไฟด้วยการทดสอบแบบไม่ทำลายวิธีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าโดยอาศัยกระบวนการแบบย้อนกลับ Quantitative Surface-Crack Assessment of Railway by Using Electromagnetic Nondestructive Testing Based on Inversion Processing”โดยมีวัตถุประสงค์ให้งานวิจัยและพัฒนางานระบบรางประสิทธิภาพมากขึ้น คือ (1) เพื่อวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินความเสียหายแบบย้อนกลับสำหรับการประเมินรอยแตกพื้นผิวเชิงปริมาณของรางรถไฟที่ด้วยการทดสอบแบบไม่ทำลายวิธีสนามแม่เหล็กไฟฟ้า, (2) เพื่อออกเเบบวิธีการตรวจสอบรอยแตกพื้นผิวของรางรถไฟที่ด้วยการทดสอบแบบไม่ทำลายวิธีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสม, และ (3) เพื่อทดลองเก็บข้อมูลและประเมินผลความเสียหายรอยแตกพื้นผิวของรางรถไฟโดยอาศัยกระบวนการย้อนกลับจากสัญญาณการตรวจสอบด้วยการทดสอบแบบไม่ทำลายวิธีสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะสามารถทำให้การประเมินขนาดรอยแตกเพื่อหาความยาว (Length) และความลึก (Depth) ของรอยแตกพื้นผิวของรางรถไฟได้ถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น โดยมีระยะดำเนินงานวิจัยภายใน 1ปี และมีค่าดำเนินงานวิจัยและพัฒนาให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสิ้น 644,000 บาท (หกแสนสี่หมื่นสี่พันบาทถ้วน)

ทางคณะผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยนี้จะสามารถนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาการตรวจสอบระบบรางให้ดียิ่งขึ้น เพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพลเมืองให้มีความมั่นใจในการใช้งานระบบรางมากขึ้น รวมไปถึงเป็นการส่งเสริมการงานวิจัยเชิงวิศวกรรมอย่างยั่งยืนจากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาใช้เองภายในประเทศโดยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีและการว่าจ้างตรวจสอบจากต่างประเทศ


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-10-01 ถึง 13:16