อุปกรณ์ทางการแพทย์อัตโนมัติสำหรับ Smart health care


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2020

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2021


คำอธิบายโดยย่อ

ชุดโครงการอุปกรณ์ทางการแพทย์อัตโนมัติสำหรับ Smart health care เป็นการศึกษาการสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยใช้ความรู้พื้นฐานทางด้านการออกแบบและสร้างระบบอัตโนมัติ เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีความทันสมัย ใช้งานได้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ช่วยยกระดับเทคโนโลยีการผลิตอุปกรณ์การแพทย์ในประเทศไทย รวมถึง การช่วยสนับสนุนการทำงานของแพทย์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยโครงการย่อย 2 โครงการภายใต้ชุดโครงการนี้

ชุดโครงการวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ในปัจจุบันโดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อให้การให้บริการทางสุขภาพมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงพัฒนาระบบการแพทย์ไทยเพื่อให้ทันสมัยนำไปสู่ smart health care โดยอาศัยการทำงานของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อข้อมูลหลายๆอย่างในระหว่างการทำงาน และพัฒนาต่อยอดไปสู่การเป็น smart health care ในที่สุด โดยชุดโครงการย่อยภายในโครงการนี้ประกอบไปด้วย

  • 1 การออกแบบและสร้างอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจ (Laryngoscope)แบบอัตโนมัติ
  • 2 การทำแบบจำลองและการสร้างชุดต้นแบบเพื่อการให้แรงเฉือนสำหรับอุปกรณ์ให้แรงเฉือน

โดยทั้งสองโครงการจำเป็นต้องอาศัยความรู้พื้นฐานก่อนการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อไปสู่ระบบอัตโนมัติ เช่นการออกแบบทางกลเพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของตัวขับเคลื่อนแทนการทำงานของคน และการเก็บข้อมูลเพื่อใช้งานให้ได้เสมือนคน และอาศัยการศึกษาที่เริ่มตั้งแต่การออกแบบ การสร้างชุดต้นแบบที่อาศัยปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาพฤติการของระบบ โดยทั้งนี้การที่จะพัฒนาอุปกรณ์ใดๆให้เป็นระบบอัตโนมัติได้นั้นไม่ได้เพียงแค่อาศัยการประกอบเข้าด้วยกันแบบ system integration แต่จำเป็นต้องมีพื้นฐานในการออกแบบ และความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะทางการแพทย์และการวิจัย

ชุดโครงการนี้ยังเน้นไปที่การพัฒนากำลังคนและองค์ความรู้ รวมถึงการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเป็นการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันและต่อยอดให้มีความล้ำสมัย และยังไม่มีแม้ในต่างประเทศ จึงเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย อีกประการหนึ่งคือการพัฒนากำลังคน วิศวกร และนักวิจัย ทางด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อใช้ในทางการแพทย์เนื่องจากเป็นการทำวิจัยที่เป็นในทางพหุสาขา ดังนั้นการพัฒนานักวิจัยเพื่อรองรับพหุสาขาวิทยาจึงจำเป็นยิ่งต่อการสร้างนวัตกรรม


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:48