แพลตฟอร์มการคัดแยกเสียงกรนด้วยปัญญาประดิษฐ์กับผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับชนิดอุดกลั้น


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ13/12/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ12/06/2022


คำอธิบายโดยย่อ

ด้วยจำนวนผู้ป่วย 17.5 ล้านคนในประเทศที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคอีกทั้งการเข้าคิวในการเขารับการตรวจและรักษามีไม่เพียงพอดังนั้นเพื่อนำผู้ป่วยวิกฤตมาเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาตามมาตราฐานทางการแพทย์ และทราบการวิเคราะห์เพื่อช่วยคัดกรองเสียงกรนด้วยปัญญาประดิษฐ์ จากรายงานการวิจัยจำนวนมากพบว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มีผลกระทบที่สำคัญต่อสุขภาพกาย และจิตใจหลายอย่าง ทำให้ประสิทธิภาพการนอนหลับลดลง คือ เมื่อเกิดการหยุดหายใจขณะหลับจะทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ไม่สนิท มีการสะดุ้งตื่นเป็นช่วง ๆส่งผลให้นอนหลับได้ไม่เต็มที่รู้สึกไม่สดชื่นหลังตื่นนอน สมาธิไม่ดีมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวันทั้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคต่างๆ เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ


วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย   1.       พัฒนาชุดอุปกรณ์บันทึกเสียงนอนกรนแบบเคลื่อนย้ายได้

2.          พัฒนาอัลกอริทึมการคัดกรองเสียงกรนด้วยปัญญาประดิษฐ์

3.          พัฒนาระบบเวบแอพพลิเคชันสำหรับการใช้งาน การวิเคราะห์ และแสดงผลของระบบฐานข้อมูลเสียงนอนกรน โดยมีประโยชน์ ระบบสารสนเทศที่ดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและให้ข้อมูลผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านปัญหาภาวะหยุดหายใจชั่วขณะการอุดกลั้น และความรอบรู้สุขภาวะเพื่อให้เกิดความตระหนัก เรียนรู้ และความสำคัญในการประเมินภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาด้วยต้องสื่อภาพกราฟิก และภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้ความรู้และข้อมูลจำแนกความเสี่ยงของผู้ป่วย โดยนำไปสู่การทำ Health Literacy  การให้ความตระหนักรู้ให้แก่ผู้ป่วยเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมนำไปสู่การลดความรุนแรง และลดความสูญเสียจากโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ อีกทั้งยังช่วยประหยัดงบประมาณด้านสุขภาพจากภาครัฐ



คำสำคัญ

  • นอนกรน
  • หยุดหายใจ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-25-02 ถึง 20:22