การพัฒนานวัตกรรมสีทำความเย็นสำหรับใช้เคลือบระบบหลังคาเพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำความเย็นด้วยการแผ่รังสี


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/12/2020

วันที่สิ้นสุดโครงการ31/05/2022


คำอธิบายโดยย่อ

โครงการวิจัยนี้ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสีทำความเย็นหรือสารเคลือบที่มีความสามารถในการทำความเย็นด้วยการแผ่รังสีในช่วงหน้าต่างบรรยากาศ (ซึ่งตรงกับความยาวคลื่นในช่วง 8-13 ไมโครเมตร) เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอาคารธุรกิจและบ้านอยู่อาศัย โดยในการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้จะทำการศึกษาผลของชนิดและปริมาณของสารที่ทำหน้าที่การคายรังสีในช่วงดังกล่าว ที่มีต่อสมบัติทางแสงและความสามารถในการทำความเย็นด้วยการแผ่รังสีของสารเคลือบที่พัฒนาขึ้น เมื่อมีการนำไปเคลือบลงบนหลังคาประเภทแผ่นชีทโลหะ (metal sheet) โดยสารเคลือบที่จะทำการวิจัยและพัฒนาขึ้นในครั้งนี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) ระบบสีที่มีเม็ดแก้ว (ไมโครสเพียร์) เป็นองค์ประกอบหลักในการคายรังสีในช่วงดังกล่าวผสมลงไปในตัวประสานพอลิเมอร์ชนิดเดียวกับสีที่ใช้ในการผลิตขึ้นรูปหลังคาฯ ในปัจจุบัน และ (2) สารเคลือบที่มีเซลลูโลสขนาดนาโนเป็นองค์ประกอบฯ ผสมลงไปในตัวประสานพอลิเมอร์ที่มีความใส สำหรับนำไปเคลือบชั้นบนสุด (top coat) ของผลิตภัณฑ์หลังคาฯ ที่ผ่านการผลิตจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว โดยการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้ จะเป็นการต่อยอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านวัสดุนาโนและสารเคลือบที่ทำจากพอลิเมอร์ ที่ทางทีมผู้วิจัยฯ มีพื้นฐานและประสบการณ์อยู่แล้ว ผนวกกับการทำงานที่ใกล้ชิดกับบริษัทสี กัปตัน โค๊ทติ้ง จำกัด เพื่อร่วมมือพัฒนาและยกระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (จากระดับ 3 ไปสู่ระดับ 5 เมื่อการดำเนินงานตามแผนแล้วเสร็จและสำเร็จ)


คำสำคัญ

  • Energy Efficiency
  • Polyurethane


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-03 ถึง 14:29