การวิจัยและพัฒนาระบบนวัตกรรมการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะและการฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับพัฒนาบุคลากรผลิตยาชีววัตถุให้มีทักษะความสามารถและสมรรถนะชั้นสูงเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรใน EEC


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/05/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/04/2023


คำอธิบายโดยย่อ

ในประเทศไทยได้มีการสำรวจถึงความต้องการสมรรถนะบุคลากรในอนาคตสำหรับ 12 กลุ่มอุตสากรรมเป้าหมาย (พ.ศ. 2563-2567) ในรายงานฉบับนี้ได้รายงานผลความต้องการบุคลากรในอุตสาหกรรมการแพทย์คบวงจรมีมากถึง 17,732 คน โดยส่วนใหญ่เป็นทักษะแรงงานที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science, Technology, Engineering and Mathematics : STEM)   โดยรายงานฉบับนี้ได้เน้นย้ำถึงการขาดบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาทักษะหรือการฝึกฝนอย่างเหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปย่างรวดเร็ว

ความท้าทายอย่างหนึ่งที่อุตสากกรรมชีวภาพทั่วโลกต้องเผชิญคือการพัฒนาบุคุลากรที่มีความสามารถและสมรรนะเพื่อที่จะทำงานในสภาพแลดล้อมที่ต้องใช้สหวิทยาการขั้นสูงซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการพัฒนายาชีววัตถุ ตามหลักการและบุคคลดังกล่าวต้องการผสมผสานระหว่างความรู้เชิงเทคนิคและความเชี่ยวชาญที่ครอบคลุมทั้งวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (biological sciences) วิทยาศาสตร์กายภาพ (physical sciences) คณิตศาสตร์ (mathematics) และวิศวกรรมศาสตร์ (engineering) ซึ่งการเรียนการสอยในระดับอุดมศึกษาโดยทั่วไปนั้นอาจจะยังไม่สามารถผลิตบุคลากรที่มีความสามารถและสมรรถนะได้ตรงกับความต้องการและรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นได้

การเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาในสาขาวิศวกรรมโดยทั่วไปนั้นยังเน้นการเรียนการสอนภาคทฤษฎีในห้องเรียนและฝึกภาคปฏิบัติในโรงประลองภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งการสอนแบบนี้ยังไม่สามารถผลิตวิศวกรที่มีทักษะตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตจากภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานต่างๆ และอาจไม่ทันต่อความต้องการของตลาดแรงงานขั้นสูงสำหรับโครงการพิเศษที่มีความต้องการบุคลากรอย่างรวดเร็ว เพื่อผลิตบัณฑิตและบุคลากรที่มีความรู้และทักษะตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมด้านวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ (Bioprocess engineering) เพื่อเข้าไปตอบสนองความต้องการแรงงานขั้นสูงในเขต EEC ในด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรที่เกี่ยวกับการผลิตยาชีวเภสัชภัณฑ์ รวมไปถึงอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงเซลล์เพื่อผลิตเอทานอลหรือการเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังจากกระบวนการหมักที่ล้วนอาศัยทักษะความรู้ด้านวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ  ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี และสำนักอุทยานวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ขอนำเสนอโครงการการวิจัยและพัฒนาระบบนวัตกรรมการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะและการฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับพัฒนาบุคลากรผลิตยาชีววัตถุให้มีทักษะความสามารถและสมรรถนะชั้นสูงเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรใน EEC เพื่อทำให้เกิดการสร้างระบบพัฒนาคนจำนวนมาก ให้มีทักษะความสามารถและสมรรถนะด้านวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ ในเวลาที่จำกัดและเร็วขึ้นกว่าการผลิตกำลังคนด้วยกระบวนการจัดการศึกษาแบบปกติ เพื่อให้เกิดแรงงานคุณภาพสูงเพื่อรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ในระยะเวลาที่เหมาะสมและด้วยจำนวนที่เพียงพอต่อความต้องการ

  •     4 และนักศึกษาปริญญาโทชั้นปีที่ 2 ของภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เข้าร่วมโครงการการเรียนรู้สำหรับพัฒนาบุคลากรผลิตยาชีววัตถุให้มีความสามารถและสมรรถนะขั้นสูงด้วย Research-based learning (RBL) และ Problem หรือ Project-based learning (PBL) แบบ Competency-based system เป็นระยะเวลา 3-6 เดือน เพื่อฝึกทักษะความสามารถทางด้านวิศวกรรรมกระบวนการชีวภาพของนักศึกษาผ่านการฝึกงาน (on the job training) แบบเข้มข้นในลักษณะโมดูล เมื่อจบโมดูลหนึ่งก็สามารถสลับไปโมดูลอื่นได้อย่างยืดหยุ่นตามความต้องการของนักศึกษาหรือตามที่หน่วยงานในพื้นที่ EEC ต้องการ ณ เวลานั้นๆ นอกจากการอบรมทางด้านทฤษฎี การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในแต่ละโมดูลแล้ว นักศึกษาจะได้โจทย์วิจัยจริงหรือโจทย์จำลองเพื่อให้นักศึกษาวางแผนการดำเนินงาน นำเสนอแผนการดำเนินงานแบบปากเปล่าต่อทีม ลงมือปฏิบัติการ บันทึกและวิเคราะห์ผลการทดลอง และนำเสนอผลการทดลองแบบปากเปล่าอย่างกระชับต่อทีม นอกจากนี้นักศึกษาที่ผ่านโมดูลแล้วจะทำหน้าที่เป็น  co-mentor ร่วมกับผู้ดูแลให้กับอีกกลุ่มที่ยังไม่ผ่านโมดูลนั้นได้ เพื่อเป็นการ relearn และ reskill ไปในตัว ซึ่งการฝึกด้วยวิธีการนี้จะทำให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะอื่นที่เป็น soft skills ไปในตัวด้วย ซึ่งผู้คณะผู้ดำเนินโครงตั้งสมมติฐานว่าผลผลิตและผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนำร่องนี้จะสามารถผลิตบุคลากรจำนวนหนึ่งที่มีความสามารถและสมรรถนะทางด้านวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพแบบจำเพาะเจาะจงได้ในเวลาอันรวดเร็ว และสามารถขยายผลไปใช้ได้กับนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของทางมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีและสถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้
  • Learning platform ที่จะทำควบคู่กันไปคือการสร้างระบบที่จะช่วยรับรองความสามารถที่เฉพาะเจาะจงของบุคคลที่เกิดจากประสบการณ์และการทำจริง (competency-based credentialing) ที่เรียกว่า micro-credentials (MC) โดยระบบนิเวศของ MC ประกอบไปด้วยผู้ที่ต้องการการรับรอง (earner) ซึ่งในที่นี้ก็คือนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ผู้ออกตรารับรองดิจิทัลหรือผู้ให้การรับรอง (issuer) ซึ่งหมายถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และผู้ที่ให้การยอมรับ (recognizer) ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการนี้ เช่น หน่วยงานวิจัยหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ โดยบทบาทของคณะผู้ดำเนินโครงการนี้คือเป็นผู้ออกแบบ (designer) ที่ต้องออกแบบการรับรองความสามารถต่างๆ ที่จำเพาะเจาะจง หน้าที่หลักของผู้ออกแบบคือการกำหนดเกณฑ์และเงื่อนไขในการประเมินว่า earner ต้องส่งหลักฐานอะไรบ้าง หรือต้องเข้าเรียนหลักสูตรออนไลน์อะไรเพิ่มเติม กำหนดงานหรือเอกสารต่างๆ ที่ต้องส่งเพื่อให้ผู้ประเมิน (evaluator) จากภายนอกประเมินว่าผ่านหรือไม่ ถ้าไม่ผ่านต้องทำอย่างไร เพื่อสุดท้ายแล้วผู้ให้การรับรองสามารถออกตราเหรียญดิจิทัลรับรองความสามารถให้แก่ earner ได้  ซึ่งตราเหรียญดิจิทัลจะช่วยเป็นเครื่องยืนยันความสามารถของ earner เมื่อมีการสมัครงานในตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับ MC นั้นๆ ทั้งนี้ยังทำให้ภาคอุตสาหกรรมเกิดความมั่นใจว่า earner มีความสามารถในทักษะที่จำเพาะเจาะจงนั้นจริงๆ จึงช่วยลดระยะเวลาในงานสอนงานใหม่ ช่วยให้เกิดการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อพื้นที่อุตสาหกรรม EEC โดยคณะผู้ดำเนินโครงการตั้งสมมติฐานว่า MC ที่สอดคล้องและล้อกับโมดูลต่างๆ จะทำให้เกิดการผลิตบุคลากรจำนวนมากที่มีความสามารถและสมรรถนะทางด้านวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพแบบจำเพาะเจาะจงได้ในเวลาอันรวดเร็วเนื่องจากมีระบบการเรียนออนไลน์ประกอบกับการฝึกปฏิบัติและส่งหลักฐานเพื่อให้ได้ตราเหรียญดิจิทัล อีกทั้งยังสามารถขยายผลไปใช้ได้กับนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของทางมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีและสถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้



คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:49