การออกแบบระบบอัตโนมัติสำหรับพัฒนาการทำงานกลไกยืดหยุ่นสำหรับการหยิบจับเซลล์ของสิ่งมีชีวิต


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/02/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ31/01/2023


คำอธิบายโดยย่อ

การนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ในอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและมีความจำเป็นมากขึ้นเนื่องจากแรงงานที่มีค่าจ้างสูงและขาดแคลน รวมถึงลักษณะการทำงานบางประเภทเป็นงานที่ทำซ้ำๆ และต้องการความแม่นยำสูง ทำให้การใช้งานของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัตินอกจากจะช่วยแก้ปัญหาแล้วยังเป็นการพัฒนากระบวนการทางอุตสาหกรรม ทั้งนี้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับชีวการแพทย์หรือการรักษายังมีการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแบบจำกัด การนำหุ่นยนต์มาใช้ในชีวการแพทย์นั้น สามารถนำไปใช้ในการในการออกแบบเพื่อความแม่นยำสามารถทำงานร่วมกับวัตถุที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้เช่นในกระบวนการเลี้ยงเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการรักษาแบบเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อม (Regenerative medicine) โครงการนี้จึงนำเสนอการออกแบบและควบคุมกลไกยืดหยุ่นได้สำหรับการทำเป็นเครื่องมือจับขนาดเล็ก สำหรับการหยิบจับเซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็ก เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ และจำเป็นต้องมีการควบคุมแรง ซึ่งกลไกที่จะช่วยทำเป็นมือจับที่ใช้หยิบของขนาดเล็กมากที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางในระดับหรือไมโครเมตร การใช้กลไกยืดหยุ่นได้จึงมีประโยชน์เนื่องจากกลไกดังกล่าวไม่มีส่วนของข้อต่อในการทำงาน จึงทำให้ลดปัญหาเกี่ยวกับความคลาดเคลื่อน ทำให้ได้ความแม่นยำที่สูงขึ้น เหมาะกับการใช้งานในกรณีที่หยิบจับวัตถุที่มีขนาดเล็กขนาด ไมโครเมตรหรือนาโนเมตรเป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากเป้าหมายในการออกแบบอุปกรณ์หยิบจับนี้นำไปใช้สำหรับเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบเซลล์เดี่ยว (single cell) หรือในรูปแบบที่เป็น แผ่น (cell sheet) หรือเซลล์ที่เป็นกลุ่มก้อน (pellet) ซึ่งในแต่ละรูปแบบมีขนาดและรูปร่างต่างกัน ความคล้ายคลึงกันคือวัตถุประเภทเซลล์มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ง่ายและต้องการการหยิบจับแบบเบา โดยไม่ทำลายสมบัติของเซลล์ การเคลื่อนย้ายหรือหยิบจับแบบอัตโนมัติจึงเป็นไปได้ยาก เพราะต้องมีความแม่นยำสูง ออกแรงได้พอเหมาะ และไม่ทำลายสมบัติของเซลล์ โครงการนี้จึงนำเสนอ การพัฒนากลไกยืดหยุ่น เพื่อทำการออกแบบชุดหยิบจับเซลล์ รวมถึงการออกแบบระบบควบคุมการทำการแบบอัตโนมัติ ซึ่งผลของโครงการนี้ยังสามารถต่อยอดนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆที่ต้องการหยิบจับวัตถุที่มีขนาดเล็ก ด้วยความแม่นยำสูง เช่น การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-17-03 ถึง 16:57