Diversity of bee flora and pollination efficacy to crop yields of native honeybees and stingless bees in Thailand
Principal Investigator
Co-Investigators
No matching items found.
Other Team Members
Project details
Start date: 01/10/2020
End date: 30/09/2021
Abstract
การใช้ผึ้งผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิตมีการใช้อย่างแพร่หลาย มีการประเมินรายได้ที่เกิดจากการใช้ผึ้งช่วยผสมเกสร เช่น 12.88 พันล้าน ในประเทศแคนาดา (Scott-Dupee et al., 1995) ในประเทศออสเตรเลียมีมูลค่าสูงถึง 26.96 พันล้าน (Gordon and Devis, 2003, Oldroyd and Wongsiri, 2006) ในเอเชียมีประเทศญี่ปุ่นที่มีการตื่นตัว สนใจใช้ผึ้งในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม
ปกติผึ้งที่นำมาเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจและใช้ในการผสมเกสรคือ คือ ผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) ซึ่งเป็นที่นิยมเลี้ยงมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 85 ของผึ้งที่เลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจทั้งหมด แต่อุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ทั่วโลกประสบปัญหาโรคตายทั้งรัง (Colony Collapse Disorder) ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกสูญเสียประชากรผึ้งอย่างต่อเนื่องทุกปี เช่น สหรัฐอเมริกาสูญเสียผึ้งร้อยละ 33.8 ต่อปี ยุโรปสูญเสียผึ้งร้อยละ 1.8-5 ต่อปี ญี่ปุ่นสูญเสียผึ้งร้อยละ 25 ต่อปี และตะวันออกกลางสูญเสียผึ้งร้อยละ10-80 ต่อปี เป็นต้น การใช้ผึ้งพันธุ์ในการช่วยผสมเกสรเกษตรกรจึงต้องแบกภาระการจัดการรังผึ้งที่ยุ่งยาก นอกจากนี้ ปัญหาการใช้ยาฆ่าแมลง ทำให้การผสมเกสรผลผลิตโดยผึ้งจากธรรมชาติเกิดขึ้นได้ยากขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ช่วงเวลาและฤดูกาลบานของดอกไม้ผิดปกติ ทำให้เกษตรยิ่งประสบปัญหาผลผลิตตกต่ำ ไม่สมดุลกับต้นทุนที่สูงขึ้นทุกปี
การใช้ผึ้งผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิตและการให้บริการทางนิเวศน์แม้จะมีการใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศ แต่งานวิจัยด้านนี้ในประเทศไทย ยังมีจำนวนน้อย อีกทั้งยั้งต้องการองค์ความรู้มาสนับสนุนอย่างจำเพาะเจาะจง เช่น พืชที่บานกลางคืน พืชที่ไม่ใช่อาหารที่ผึ้งนิยมเข้าเก็บอาหาร งานวิจัยการเลือกชนิดผึ้งที่เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพการผสมเกสรสูงสุดจึงมีความจำเป็น ประเทศไทยมีผึ้งพื้นเมืองถึง 4 ชนิดและชันโรงอีก 36 ชนิด แต่องค์ความรู้ปัจจุบันที่มีการใช้ผึ้งพื้นเมืองเพื่อการผสมเกสรยังมีอยู่น้อยมาก ทีมวิจัยจึงได้มีวัตถุประสงค์พัฒนาเทคนิคการเลี้ยงผึ้งพื้นเมืองและชันโรงเพื่อเป็นแมลงผสมเกสร ซึ่งจะเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาผลผลิตพืชตกต่ำและช่วยสร้างรายได้เสริมจากการเลี้ยงผึ้งให้กับเกษตรกร โดยมีจุดแข็งคือ
1) การเลี้ยงลงทุนน้อย เนื่องจากสามารถต่อพันธุ์ได้จากธรรมชาติ ไม่ต้องซื้อพันธุ์ผึ้ง
2) เนื่องจากเป็นผึ้งพื้นเมืองจึงทนทานต่อโรคและศัตรูธรรมชาติได้ดี การเลี้ยงจึงไม่ต้องลงทุนบริหารจัดการมาก รวมถึงไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการควบคุมโรคและศัตรูธรรมชาติ ทำให้มีโอกาสการต่อยอดไปสู่การผลิตน้ำผึ้งอินทรีย์มีสูงกว่าด้วย
3) เป็นผึ้งพื้นเมืองและชันโรงที่มีวิวัฒนาการร่วมกับพืชผลทางการเกษตรที่สามารถปลูกในพื้นที่เขตร้อนมานาน ประสิทธิภาพการผสมเกสรจึงมีแนวโน้มจะมีคุณภาพและได้ผลดี
- ) น้ำผึ้งจากผึ้งพื้นเมืองมีราคาในท้องตลาดสูงกว่าผึ้งพันธุ์ต่างประเทศถึง 2-3 เท่า
ดังกล่าว งานวิจัยนี้จะคัดเลือกสายพันธุ์ผึ้งพื้นเมืองของประเทศไทย วิเคราะห์หาชนิดผึ้งที่มีศักยภาพในการเลี้ยงและช่วยผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อการเพิ่มผลผลิตน้ำผึ้งและผลผลิตทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้คือ
- สำรวจหาชนิดและวิจัยศักยภาพของพืชที่เป็นอาหารของผึ้ง ทั้งในแง่ประโยชน์ด้านคุณค่าทางอาหารต่อผึ้งและศักยภาพในการผลิตน้ำผึ้งเอกลักษณ์เฉพาะ
- เพื่อศึกษาพฤติกรรมเต้นรำและสัญญานการสื่อสารเสียงภายในผึ้งและชันโรงไทยภายใต้สภาวะที่เกี่ยวข้องกับการหาอาหาร การตอบสนองต่อปริมาณและคุณภาพอาหาร (น้ำหวาน ดอกไม้ เกสร และกลิ่นดึงดูด) ที่แตกต่างกัน
- การพัฒนาวิธีการและประสิทธิภาพในการผสมเกสรของผึ้งและชันโรงในพืชเป้าหมาย 5 ชนิดคือ ฝรั่ง ทุเรียน มะนาว แคนตาลูป ฟักทอง
- การตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมี-กายภาพ และสารคุณค่าสูงในน้ำผึ้งที่ผลิตได้เบื้องต้น
- การพัฒนาฐานข้อมูลพืชอาหารผึ้ง
- การเปรียบเทียบต้นทุนผลประโยชน์ และการประเมินมูลค่าของผลผลิตก่อนและหลังการดำเนินงาน
- การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการให้บริการทางนิเวศน์ของผึ้งและชันโรง
- เปิดโอกาสให้มีตัวเลือกพันธุ์ผึ้งที่หลากหลาย ให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมที่หลากหลายแตกต่างกันไปของประเทศ เกิดผลกระทบในแง่เศรษฐกิจกับประเทศไทยเชิงประจักษ์ เป็นต้นแบบทางเลือกเกษตรแนวใหม่ที่มีสามารถสร้างรายได้เสริมคือเลี้ยงผึ้งพื้นเมืองและชันโรง เพิ่มผลผลิตพืช ลดต้นทุนการผลิตพืช เพิ่มการสร้างงานในพื้นที่ ลดการย้ายถิ่นฐาน พัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้นให้กับชุมชนในประเทศ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบให้เกิดความยั่งยืนของระบบนิเวศน์และผลกระทบเชิงบวก ทำให้เกิดการอนุรักษ์พืชอาหารผึ้งและชันโรง ส่งเสริมพื้นที่สีเขียวที่ปลอดสารพิษ เพื่อแมลงผสมเกสรสำคัญในระบบนิเวศน์
Keywords
- Bee flora
- Ecological Services
- Honeybees
- Native bees
- Pollination
- Stingless bees
Strategic Research Themes
Publications
No matching items found.