edgeOne ระบบบริหารการทำงานของเครื่องจักร ด้วยเทคโนโลยี IoT


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ02/03/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ01/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

กระแสของการปฏิวัติอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจากทั่วทุกมุมโลก และแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ทุกธุรกิจต้องปรับตัวหาทางรอด สำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) เป็นอีกทางเลือกหลัก ที่จะทำให้สามารถดึงศักยภาพของกระบวนการผลิต และลดต้นทุนได้อย่างชัดเจน คุณประโยชน์ของ IoT นั้นมีมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มผลผลิต ประสิทธิภาพ และการค้นพบมูลค่าใหม่ของธุรกิจเดิม อย่างไรก็ตาม มีผู้ประกอบการหลายท่านรวมถึง Start-up ในประเทศไทย ได้มีการทดลองและพยายามสร้าง แอปพลิเคชันด้วย เทคโนโลยี IoT แต่ด้วยองค์ประกอบหลายด้านทำให้ผลิตภัณฑ์ ที่ออกสู่ตลาดยังไม่ตอบโจทย์และสำเร็จมากนักทั้งเชิงการใช้งานและความแพร่หลายของผู้ใช้งาน โดยปัญหาอยู่ที่ เทคโนโลยีที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้งานที่ยากในการเชื่อมต่อไปจนถึงการวิเคราะห์ (Know-How & Technology) และด้วยปัจจัยของข้อจำกัดของการประยุคใช้งานที่ยังหลากหลายไม่มากพอ หรือ ข้อจำกันในการใช้งานได้แค่ 1 อย่างโดยไม่มีตัวเลือก ทำให้ผู้ใช้งานยังไม่ตัดสินใจที่จะใช้งาน ทำให้การเข้าถึงและติดตั้งระบบ IoT ยังคงเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ดังนั้น ไดนามิคส์ โมชั่น จึงต้องการสร้างทางลัดที่จะทำให้ทุกคนเข้าถึงความสำเร็จจาก IoT ได้รวดเร็วที่สุดและง่ายดายที่สุด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต นักพัฒนาซอฟต์แวร์ IoT และ นักศึกษาในสถาบันการศึกษา

      เราจึงริเริ่มโครงการ edgeOne ระบบบริหารการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี IoT ด้วยการพัฒนาเครื่อง edgeOne ที่มีแอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์พร้อมใช้งาน ตอบโจทย์ทั้งเรื่องคุณภาพ การใช้งาน และการนำไปพัฒนาต่อยอด ด้วยราคาที่สมเหตุสมผลเข้าถึงได้ โดยการใช้งานของ edgeOne ที่สามารถใช้งานได้ด้วยตนเองตั้งแต่เริ่มเลือกแบบการใช้งาน ติดตั้งและไปจนถึงใช้งานจริง โดยในระยะเวลาโครงการ เครื่อง edgeOne จะสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องจักร, Sensor, Meter ได้มากกว่าร้อยละ 80 ในตลาด และสามารถเชื่อมต่อคลาวด์ (cloud) ได้ทันที โดยแอปพลิเคชันที่พร้อมใช้งานจำนวน 2 แอปพลิเคชัน คือ 1.) ระบบติดตามแสดงผลสถานะการทำงานของเครื่องจักรและการควบคุมอัตโนมัติ (Machine and Production Line Monitoring) 2.) ระบบแสดงผลสถานะการใช้พลังงานไฟฟ้าและให้คำแนะนำในการใช้งานพลังงานด้วย AI (Energy Consumption Monitoring) ทั้งหมดนี้ทำให้ กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต มีข้อมูลสำหรับการทำงาน วางแผน และตัดสินใจประกอบการดำเนินงาน ด้วยต้นทุนที่คุ้มค่าและระยะเวลาติดตั้งอันสั้น ที่สามารถตัดสินใจและสร้างผลกระทบเชิงบอกต่อองค์กรได้ทันท่วงที 

      เครื่อง edgeOne เป็น Embedded Device ที่มาจากการรวมตัวของ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เป็นหนึ่งเดียวกันพร้อมสำหรับต่อพ่วง Sensor และ Meter นอกจากนี้ในโครงการยังมีการพัฒนา ระบบนิเวศของ edgeOne ที่ประกอบไปด้วย edgeCloud และ dataEdge โดยที่ edgeCloud API ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการบริหารการจัดการ edgeOne ของแต่ละผู้ใช้งานให้มีความสะดวกทำให้ระบบมีความสามารถในการรองรับข้อมูล Big Data Processing ในการส่งต่อการวิเคราะห์ใน dataEdge ที่สามารถแปลงการวิเคราะห์ข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของ Web Application ของแต่ละผู้ใช้งานในขั้นถัดไป โดยระบบพื้นฐานทั้งหมดนี้ ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ IoT สามารถนำเครื่อง edgeOne ไปพัฒนาแอปพลิเคชันได้หลากหลายด้วย edgeCloud ที่ทำหน้าที่ data on cloud พร้อมเป็นสะพานของข้อมูลเพื่อไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลา (Time Series Data Analysis) และ กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analysis) ไปจนถึง AI ในการ ทำ Forecast หรือ Prediction ไปกว่านั้นเหล่า Developer สามารถใช้ความง่ายในการดึงข้อมูลไป Plug-in กับระบบอื่นๆ ด้วย edgeCloud RESTFUL API มาตรฐานพร้อมวิธีการใช้งาน และ ลดต้นทุนรวมถึงระเวลาในการพัฒนาได้มากกว่า 1 ปี นอกจากนี้ กลุ่มสถาบันการศึกษา ที่มีการเรียนการสอน สร้างระบบ IoT ก็สามารถนำอุปกรณ์ edgeOne ไปเชื่อมโยงกับโครงการที่มีอยู่ต่อยอดโครงการเดิมได้ทันที สามารถนำไปใช้ประกอบโครงการใหม่ๆของทั้งผู้ศึกษา และผู้สอนให้สามารถนำ edgeOne เป็นสื่อกลางและเส้นทางลัดเข้าสู่การพัฒนาจุดใช้งานจริง และเข้าถึงเป้าหมายของโครงการได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

      โดยผลจากการพัฒนาโครงการ edgeOne นี้จะทำให้ บริษัทกลุ่มในอุตสาหกรรมการผลิตที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศไทย สามารถเข้าถึง ใช้งาน สร้างงาน และ ได้รับความสำเร็จจาก IoT ได้อย่างรวดเร็วเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่โครงสร้างอุตสาหกรรมประเทศ ในการก้าวสู่ยุค 4.0 ด้วย Industrial IoT และเพิ่มมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม พัฒนายกระดับทักษะของบุคลากรที่อยู่ในอุสาหกรรมเดิมให้ทันต่อความต้องการของตลาด และสามารถทำงานควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมยุคใหม่ได้ ต่อยอดเพิ่มโอกาสในการสร้างซอฟต์แวร์ IoT ที่หลากหลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้มีความแข็งแกร่งทางด้านเทคโนโลยี IoT


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:49