การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์สำหรับการวิเคราะห์กึ่งปริมาณของโลหะหนักในสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Phailin Singlow and Nisakorn Thongkon
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
หน้าแรก: S43
หน้าสุดท้าย: S53
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดเชิงกึ่งปริมาณ สำหรับโลหะหนักในสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย โดยอาศัยอันตรกิริยาของ Cu2+, Pb2+, Fe3+ และ Cr3+ กับสีย้อมหรือรีเอเจนต์ เช่น 4-(2-Pyridyzo) resorcinol (PAR), Potassium thiocyanate (KSCN), Alizarin red S (ARS) และ Dithizone (DTZ) ที่ดูดซับบนกระดาษที่ปรับสภาพด้วย TTAB ทำให้สังเกตเห็นสีของสารประกอบเชิงซ้อนบนกระดาษที่ปรับสภาพ ซึ่งขึ้นกับชนิด ความเข้มข้น และ pH ของสีย้อม/รีเอเจนต์ และไอออนของโลหะหนัก ใช้การเปลี่ยนแปลงความเข้มของสีในการสร้างแถบสีมาตรฐาน สำหรับการตรวจวัดเขิงกึ่งปริมาณวิเคราะห์ของไอออนของโลหะหนักโดยการตรวจวัดด้วยตาเปล่า และภาพที่ได้จากการตรวจวัดด้วยสมาร์ทโฟน ทำการศึกษาชนิด ความเข้มข้น และ pH ของสารละลาย เพื่อให้ได้สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสร้างแถบสีมาตรฐาน นอกจากนี้ทำการศึกษาหาขีดจำกัดของการตรวจวัดด้วยตาเปล่า สำหรับการวิเคราะห์แบบ Selective กระดาษที่เคลือบด้วย PAR ในการตรวจวัด Cu2+ และ Fe3+ มีค่า LOD 0.4 mg/L (pH 5.0) นอกจากนี้กระดาษที่เคลือบด้วย DTZ ยังมีความ Selective ในการตรวจวัด Cu2+ มีค่า LOD 0.1 mg/L (pH 1.0), Cr3+ มีค่า LOD 1.6 mg/L (pH 1.0) และ Pb2+ มีค่า LOD 0.06 mg/L (pH 5.0) อุปกรณ์ตราจวัดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์เชิงกึ่งปริมาณของไอออนของโลหะหนักเหล่านี้ในตัวอย่างน้ำดื่ม ตรวจวัดได้ง่าย สะดวก และไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอย่าง
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง