การเตรียมผ้าฝ้ายที่เคลือบด้วยพอลิเมอร์ลอกแบบโมเลกุล/คาร์บอนดอท และการประยุกต์เพื่อตรวจวัดสารโนนิลฟีนอลในตัวอย่างสิ่งแวดล้อม
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Sutita Pradub and Nisakorn Thongkon
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
Volume number: 27
Issue number: 2
หน้าแรก: 1102
หน้าสุดท้าย: 1118
จำนวนหน้า: 17
URL: http://science.buu.ac.th/ojs246/index.php/sci/issue/view/105
บทคัดย่อ
ในงานวิจัยนี้ได้ทาการเตรียมพอลิเมอร์ลอกแบบโมเลกุล/คาร์บอนดอท (MIP/CDs) สำหรับการตรวจวัดสารโนนิลฟีนอล (NP) ในระบบสารละลายและบนผ้าฝ้ายที่ปรับสภาพด้วยเตตระเดซิลไตรเมทิลแอมโมเนียม โบรไมด์ (CF) ทำการสังเคราะห์ MIP/CDs ในสภาวะที่มีสาร NP ซึ่งเป็นแม่แบบ ใช้ 3-อะมิโนโพรพิลไตรเอทอกซีไซเลน (APTES) เป็นมอนอเมอร์ และ เตตระเอทอกซีไซเลน (TEOS) เป็นตัวเชื่อม ภายหลังที่มีการกำจัดโมเลกุลแม่แบบเดิมออกทำให้ได้ผ้าฝ้ายที่เคลือบด้วย MIP/CDs (CF-MIP/CDs) ที่แสดงสมบัติการคายแสงฟลูออเรสเซนซ์ที่แรงและมีความจำเพาะเจาะจงสูง ทำการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของ CF-MIP/CDs ด้วยเครื่อง FTIR, SEM และ EDS ตามลำดับ อธิบายพฤติกรรมการดูดซับของ CF-MIP/CDs ได้โดยใช้แบบจำลองไอโซเทอร์มการดูดซับของฟรุนดลิชและแบบจำลองจลนศาสตร์อันดับหนึ่งเทียม ค่าความสามารถในการดูดซับสูงสุดของ CF-MIP/CDs เท่ากับ 1111 ug/g และการดูดซับเข้าสู่สมดุลประมาณ 10 นาที ทำการศึกษาการตอบสนองต่อฟลูออเรสเซนซ์สาหรับสาร NP ในเบื้องต้นด้วยสมาร์ทโฟนและโปรแกรม ImageJ สาหรับการวัด Gray intensity วิธีที่นำเสนอประสบความสำเร็จในการนำไปใช้ในการตรวจวัดสาร NP ในตัวอย่างดิน ด้วยร้อยละการได้กลับคืนมา 99.2-101.2% และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ 0.52-14.6% แสดงให้เห็นถึงการนำไปใช้ได้อย่างดีเยี่ยมในการวิเคราะห์ตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ
คาร์บอนดอท; ผ้าฝ้าย; ฟลูออเรสเซนซ์; พอลิเมอร์ลอกแบบโมเลกุล; โนนิลฟีนอล