การสกัดสารประกอบฟีนอลิกจากฝุ่นผงจากเปลือกมะพร้าวด้วยตัวทำละลายร่วมกับคลื่นอัลตร้าโซนิค
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Pornpun Siramon, Thitima Wongsheree and Sarapee Yuadyong
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2019
วารสาร: วารสารเกษตรพระจอมเกล้า (0857-0108)
Volume number: 37
Issue number: 2
หน้าแรก: 221
หน้าสุดท้าย: 226
จำนวนหน้า: 6
นอก: 0857-0108
URL: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/197239/137238
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ทำการสกัดแยกสารในกลุ่มฟีนอลิกจากฝุ่นผงจากเปลือกมะพร้าวผลิตผลพลอยได้จาก กระบวนการแปรรูปมะพร้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยทำการหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารประกอบฟีนอลิกจาก ตัวอย่างโดยใช้ตัวทำละลายร่วมกับคลื่นอัลตร้าโซนิคช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสกัด ในกระบวนการสกัดได้ศึกษา 3 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการสกัด ได้แก่ ชนิดของตัวทำละลาย อุณหภูมิ และระยะเวลาในการสกัด จากผลการทดลอง พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารประกอบฟีนอลิกจากตัวอย่างโดยคลื่นอัลตร้าโซนิค คือ การสกัดโดยใช้ตัวทำละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 โดยปริมาตร ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 นาที ซึ่งที่สภาวะ นี้ให้เปอร์เซ็นต์ผลผลิตของสารสกัดร้อยละ 29.57 ของน้ำหนักแห้ง ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดที่สกัดได้เท่ากับ 951.33 ไมโครกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของน้ำหนักตัวอย่างแห้ง เมื่อทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของ สารสกัดหยาบที่ได้ พบว่ามีประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี โดยมีความเข้มข้นที่กำจัดอนุมูลอิสระได้ ร้อยละ 50 (IC50) จากวิธี DPPH เท่ากับ 362.77 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และจากวิธี ABTS เท่ากับ11.96 ไมโครกรัม ต่อมิลลิลิตร เทียบกับน้ำหนักสารสกัดหยาบ
คำสำคัญ
antioxidant activity, coconut coir dust, Phenolic compounds