ผลของวิธีการสกัดต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอสิระจากใบหมีเหม็น

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPornpun Siramon and Wichan Eiadthong

ผู้เผยแพร่Faculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2018

Volume number8

Issue number2

หน้าแรก45

หน้าสุดท้าย52

จำนวนหน้า8

นอก2730-3012

eISSN2730-3020

URLhttps://ph02.tci-thaijo.org/index.php/past/article/view/243024

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของวิธีการสกัด 3 วิธี คือ วิธีการหมัก วิธีการใช้คลื่นอัลตร้าซาวน์เสริมในการสกัด และวิธีการสกัดด้วยซอกห์เลต ที่มีต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบที่ได้จากใบหมีเหม็น (Litsea glutinosa)โดยใช้ตัวทำละลายเอทานอลที่ 3 ระดับความเข้มข้น (50% 70% และ95% โดยปริมาตร) ในการสกัด  ผลการศึกษาพบว่าการสกัดตัวอย่างใบหมีเหม็นด้วยวิธีซอกห์เลตโดยใช้ตัวทำละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 70 โดยปริมาตร เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยให้เปอร์เซ็นต์ผลผลิตของสารสกัด (22.21% ของน้ำหนักแห้ง) และปริมาณ          ฟีนอลิกทั้งหมด (862.75μg GAE/g ของน้ำหนักแห้ง) ที่สกัดได้สูงที่สุดจากวิธีกาารสกัดทั้ง 3 วิธีเมื่อทดสอบฤทธิ์ในการ    ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบที่ได ้ พบว่ามีประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีโดยมีความเข้มข้นที่กำจัดอนุมูลอิสระไดร้อยละ 50 (IC50) จากวิธี DPPH เท่ากับ 833.47 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร


คำสำคัญ

Antioxidant activityExtraction methodLitsea glutinosa (Lour.) C.B. Rob.Phenolic compounds


อัพเดทล่าสุด 2022-17-08 ถึง 23:05