การศึกษาวิธีที่เหมาะสมสำหรับงานซ่อมแซมสะพานคอนกรีตอัดแรงคานรูปตัวไอ (I-GIRDER) : กรณีเหตุการณ์เรือบรรทุกสินค้าชนโครงสร้างตอม่อสะพาน

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งUdomchai Chaiya, Chuchai Sujivorakul and Anek Siripanichgorn

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

หน้าแรก145

หน้าสุดท้าย157

จำนวนหน้า13

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

สะพานถือเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญของระบบคมนาคม เมื่อสะพานได้ถูกใช้งาน อาจมีการชำรุดเสียหายจากการเสื่อมสภาพตามอายุใช้งาน หรือจากอุบัติเหตุที่สามารถเกิดได้ทุกเวลา เช่น เรือบรรทุกสินค้าชนกับเสาตอม่อสะพาน งานวิจัยนี้เป็นศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลความเสียหายของโครงสร้างสะพานที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุเรือชน พร้อมทั้งกำหนดแนวทางขั้นตอนต่าง ๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบและวิธีการซ่อมแซมโครงสร้างสะพาน ขนาดของโครงสร้างสะพานที่ใช้ถูกในการศึกษาจะอ้างอิงจากขนาดจริงที่ใช้ในประเทศไทย โดยมีขนาด 2 ช่องจราจร และช่วงความยาวสะพาน 30 เมตร พื้นสะพานถูกรองรับคานสะพานคอนกรีตอัดแรงรูปตัวไอ และส่งถ่ายน้ำหนักลงสู่คานขวางและเสาตอม่อจำนวน 5 ต้น ตามลำดับ ความเสียหายของโครงสร้างที่ได้รับจากการเกิดอุบัติเหตุเรือชนจะถูกกำหนดจากข้อมูลการสำรวจจริง ซึ่งส่วนใหญ่เสาตอม่อต้นนอกที่รองรับคานขวางได้รับความเสียหาย การวิเคราะห์โครงสร้างสะพานทั้งก่อนและหลังการเกิดอุบัติเหตุได้ใช้โปรแกรม SAP 2000 โดยทำการวิเคราะห์ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ วิธีการซ่อมแซมโครงสร้างสะพานได้ถูกแบ่งเป็น 4 รูปแบบตามวิธีการเสริมกำลัง ได้แก่ การพอกหน้าคาน การอัดแรงทีหลัง และการทดแทนเสาสะพานเดิมด้วยเสาเข็มเจาะใหม่จำนวน 1 หรือ 2 ต้น จากคะแนนรวมของผลการประเมินทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคนิค ด้านราคา ด้านระยะเวลา พบว่า วิธีการเสริมกำลังโดยการอัดแรงทีหลังหรือแบบเชิงรุก (Active Strengthening) สามารถรับน้ำหนักได้ทันที และให้ประสิทธิผลที่ดีกว่าการเสริมกำลังโดยการพอกหน้าตัด หรือแบบเชิงรับ (Passive Strengthening)


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-18-08 ถึง 23:05