การดูดซับบิวทานอลจากสารละลายอะซิโตน บิวทานอล เอทานอลด้วยตัวดูดซับพอลิอีเทอร์บลอกเอไมด์ที่มีรูพรุน
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Sutjarit Baysaeng, Anawat Sungpet
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
ชื่อชุด: The 6th UTCC National Conference
หน้าแรก: 735
หน้าสุดท้าย: 751
จำนวนหน้า: 17
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
ปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถผลิตไบโอบิวทานอลในเชิงพาณิชย์ได้คือการที่ไบโอบิวทานอลนั้นมี
ความเป็นพิษต่อจุลชีพที่ใช้ในกระบวนการหมัก ในงานวิจัยนี้ทำการเตรียมตัวดูดซับที่มีรูพรุนโดยเทคนิค
การเปลี่ยนวัฏภาคแบบเปียกจากสารละลายร้อยละ 7 โดยมวลของ PEBAX® 2533 ในบิวทานอลและใช้
เมทานอลเป็นตัวไม่ทำละลาย จากการวิเคราะห์ลักษณะพื้นผิวของตัวดูดซับซึ่งเป็นแผ่นฟิล์มบางด้วย
เทคนิค SEM พบว่าได้ตัวดูดซับที่มีรูพรุนกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่นฟิล์ม ตัวดูดซับที่ได้นั้นถูก
นำไปใช้ในการดูดซับบิวทานอลจากสารละลายที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายและประกอบด้วยอะซิโตนบิวทานอล และเอทนอล คือ 1.0, 19.2 และ 1.7 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ การทดลองดูดซับเป็นการทดลองแบบกะ (Batch Adsorption) ที่อุณหภูมิ 37 °C จากการศึกษาการดูดซับพบว่าความสามารถในการดูดซับอะซิโตน เอทานอล และบิวทานอลของตัวดูดซับมีค่าเท่ากับ 2.60, 2.48 และ 67.46 มิลลิกรัมต่อกรัมของตัวดูดซับ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าการดูดซับบิวทานอลมีความสอดคล้องกับการดูดซับแบบฟรุนดลิชไอโซเทอมและสมการอัตราเร็วปฏิกิริยาเทียมอันดับสอง
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง