การแยกฟอยล์ออกจากเยื่อกระดาษที่ผ่านการเดินรอยร้อนเพื่อทํากระดาษรีไซเคิล

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งChuthamanee Jindaratpaiboon, Pathita Kulwanichthanachok, Tanatorn Tongsumrith and Suchapa Netpradit

ผู้เผยแพร่คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

ชื่อย่อของวารสารJLIT

Volume number2

Issue number1

หน้าแรก41

หน้าสุดท้าย50

จำนวนหน้า10

นอก2773-9740

eISSN2773-9759

URLhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/254736

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแยกชั้นฟอยล์ออกจากกระดาษที่ผ่านการเดินรอยร้อนมาแล้ว และนำเยื่อที่ได้ไปขึ้นแผ่นกระดาษรีไซเคิลพร้อมทั้งศึกษาสมบัติทางทัศนศาสตร์และสภาพพิมพ์ได้ของกระดาษ โดยทดลองทำชิ้นงานตัวอย่างที่ผ่านการเดินรอยร้อนด้วยฟอยล์ไม่มีสี (ฟอยล์เงิน) และฟอยล์มีสี (ฟอยล์ชมพู) บนกระดาษอาร์ต 130 แกรม      โดยมีพื้นที่ฟอยล์ 3 ระดับคือ ร้อยละ 25, 50 และ 75 บนพื้นที่กระดาษ 100 ตารางเซนติเมตร ตามลำดับ ทำการแยกฟอยล์ออกจากเยื่อกระดาษโดยฉีกชิ้นงานตัวอย่างแล้วนำไปแช่น้ำและสารละลายอะซิโตน จากนั้นเปรียบเทียบลักษณะและสมบัติของกระดาษรีไซเคิลระหว่างแผ่นทดสอบ (ผ่านการเดินรอยร้อน) และแผ่นควบคุม (ไม่ผ่านการเดินรอยร้อน) โดยใช้กระบวนการเช่นเดียวเดียวกัน พบว่า มีจำนวนจุดฟอยล์หลงเหลือบนกระดาษรีไซเคิลมาก เมื่อกระดาษตั้งต้นที่ใช้รีไซเคิลมีพื้นที่ฟอยล์บนกระดาษระดับมาก และการใช้ฟอยล์ชมพูปรากฎจุดฟอยล์หลงเหลือบนผิวกระดาษชัดเจนกว่าฟอยล์เงิน การแช่ชิ้นงานในสารละลายอะซิโตนทำให้ชั้นสีของฟอยล์ละลายออกมา จึงทำให้กระดาษรีไซเคิลมีสมบัติทางทัศนศาสตร์ดีกว่าการแช่ในน้ำ ส่วนด้านความมันวาว การรับหมึกพิมพ์ และความทนทานต่อการขัดถูของหมึกพิมพ์ ไม่แตกต่างกันระหว่างแผ่นทดสอบและแผ่นควบคุม ดังนั้นกระดาษที่ผ่านการเดินรอยร้อนมาแล้ว สามารถแยกฟอยล์ออกจากเยื่อ แล้วมาทำกระดาษรีไซเคิลที่มีคุณภาพและใช้พิมพ์งานได้ แต่พื้นที่ฟอยล์บนชิ้นงานไม่ควรเกินร้อยละ 50 และควรใช้สารละลายอะซิโตนในการทำละลายชั้นสีของฟอยล์


คำสำคัญ

De-foiling / Hot Stamping / Paper Recycling


อัพเดทล่าสุด 2022-17-08 ถึง 23:05