การเปรียบเทียบคุณภาพในการเดินรอยร้อนของฟอยล์ระหว่างวิธีใช้บล็อกร้อนและวิธีใช้การพิมพ์ดิจิทัลร่วมกับการถ่ายโอนความร้อน

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งTanatip Kalueksom, Theerapat Boonsuwan, Phongyut Juntong and Suchapa Netpradit

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

ชื่อชุด3rd National Conference on Learning Innovation in Science and Technology (NCLIST)

เลขในชุด3

หน้าแรก356

หน้าสุดท้าย367

จำนวนหน้า12

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพในการเดินรอยร้อนของฟอยล์ระหว่างวิธีใช้บล็อกร้อนและวิธีใช้การพิมพ์ดิจิทัลร่วมกับการถ่ายโอนความร้อน รวมทั้งตรวจสอบการยึดติดและความทนทานต่อการขัดถูบนกระดาษ 4 ชนิดได้แก่ กระดาษอาร์ตการ์ด อาร์ตการ์ดเคลือบฟิล์มด้าน กระดาษการ์ดหอม และกระดาษกล่องหน้าขาวหลังเทา วิธีแรกใช้ฟอยล์ที่มีกาวในตัวถ่ายทอดภาพบนกระดาษ โดยปั๊มด้วยบล็อกตะกั่วนูนที่ร้อนประมาณ 110°C และวิธีที่สองใช้ฟอยล์ที่ไม่มีกาวในตัว แต่ใช้หมึกโทนเนอร์จากการพิมพ์ดิจิทัลในการยึดติดบนกระดาษด้วยการหลอมที่อุณหภูมิ 120-145°C จากเครื่องลามิเนต ใช้ภาพแบบทดสอบขนาด A4 ประกอบด้วยกราฟิกแบบพอสิทีฟ (พื้นขาว) และแบบเนกาทีฟ (พื้นสีเจาะขาว) เป็นตัวอักษร เส้นตรง และเส้นโค้งหลายขนาด รวมทั้งเส้นตารางความละเอียดต่าง ๆ แถบพื้นทึบ และลวดลายโลโก้ พบว่ากระดาษอาร์ตการ์ดพิมพ์ฟอยล์ได้สม่ำเสมอและยึดติดดีที่สุด รองลงมาคือการ์ดหอมและกระดาษกล่อง ตามลำดับ ส่วนอาร์ตการ์ดเคลือบฟิล์มมีการถ่ายโอนไม่ดี วิธีใช้บล็อกร้อนเหมาะกับกราฟิกแบบพอสิทีฟ ลายเส้นคมชัด ส่วนวิธีใช้การพิมพ์ดิจิทัลเหมาะกับกราฟิกแบบเนกาทีฟ มีการพิมพ์พื้นทึบได้สม่ำเสมอดีกว่า แต่ความมันวาวของฟอยล์บนกระดาษอาร์ตการ์ดน้อยกว่า เมื่อทดสอบการยึดติดตามมาตรฐาน ASTM D3359-95 พบว่า ฟอยล์ที่ใช้บล็อกร้อนและการพิมพ์ดิจิทัลมีสมบัติการยึดติดใกล้เคียงกันในระดับ 3B-4B เมื่อทดสอบขัดถูด้วยตุ้มน้ำหนัก 2 กิโลกรัม เหวี่ยง 100 รอบ พบว่า พื้นที่ฟอยล์ที่ใช้บล็อกร้อนหลุดลอก 30% จากกระดาษอาร์ตการ์ด ส่วนวิธีที่ใช้การพิมพ์ดิจิทัลมีความทนทานต่อการขัดถูดีกว่าเนื่องจากหลุดลอกเพียง 5%


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-17-08 ถึง 23:05