การใช้สารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์และกรดออกซาลิกเพื่อลดการเกิดสีน้ำตาลของเปลือกผลลำไยระหว่างการเก็บรักษา

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งJuthamard Promboon, Kanjana Worarad, Pathompong Penchaiya, Sompoch Noichinda, and Chalermchai Wongs-Aree

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

ชื่อชุดAgricultural Science Journal (Supplement)

Volume number52 (2)

หน้าแรก89

หน้าสุดท้าย92

จำนวนหน้า4

URLhttps://www.phtnet.org/download/phtic-seminar/2002.pdf

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การชะลอการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลของเปลือกลำไยทดแทนการรมด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับงานวิจัยทางด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว ในการทดลองนี้นำผลลำไยพันธุ์อีดอสดมาตัดขั้วให้เป็นผลเดี่ยวแล้วแช่สารละลาย กรดออกซาลิก (OA) ความเข้มข้นร้อยละ 1.0 ที่มีโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ (SMS) ร้อยละ 1.0 (1.0%SMS+OA) หรือ 2.5  (2.5%SMA+OA) นาน 5 นาที เปรียบเทียบกับผลที่รมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ทางการค้า และผลปกติ (nontreated control) แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 90-95   หลังการทำทรีทเมนต์เปลือกลำไยที่แช่ SMS+OA และที่รม SO2 เปลี่ยนไปเป็นสีเหลืองและสว่างมากขึ้นเมื่อเทียบกับผลชุดควบคุม   โดยเปลือกผลชุดควบคุมเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาลอย่างรวดเร็วหลังการเก็บรักษา ส่วนเปลือกลำไยที่แช่สาร SMS+OA ทั้ง 2 ระดับ ค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาลมากขึ้นภายใน 9 วัน ในขณะที่ลำไยเปลือกลำไยที่รม SO2 สียังคงเหลืองสว่างและมีค่าการเปลี่ยนแปลงสีเพียงเล็กน้อยตลอดการเก็บรักษา 15 วัน   ค่าของแข็งที่ละลายน้ำได้ของเนื้อค่อนข้างคงที่  นอกจากนี้ผลลำไยในชุดควบคุมกิดโรค 8.0%, 1%SMS+OA  เกิด 5.6% และ 2.5%SMS+OA พบ 1.3% ในวันที่ 15  ในขณะที่ผลที่รม SO2 ไม่มีการเกิดโรค   อย่างไรก็ตามผลที่รม SO2 มีสารซัลเฟอร์ตกค้างในเปลือก 1200-1300 ppm ตลอดการเก็บรักษา ส่วนในเนื้อพบ 72.8 ppm ในช่วง 6 วันแรกแต่ตรวจไม่พบในวันที่ 15  ส่วนผลที่แช่ SMS+OA มีซัลเฟอร์ตกค้างในเปลือกน้อยกว่า 10 ppm และไม่พบสารตกค้างในเนื้อตลอดการเก็บรักษา 


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-24-08 ถึง 23:05