การเพิ่มผลิตภาพของกระบวนการหยิบสินค้า กรณีศึกษา ผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ประปาแห่งหนึ่งในประเทศไทย

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งWacharaporn Puchitakorn, Kamol Kaemarungsi, Ganda Boonsothonsatit

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

หน้าแรก165

หน้าสุดท้าย170

จำนวนหน้า6

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มผลผลิตของกระบวนการหยิบสินค้าของผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ประปาแห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งเป็นกรณีศึกษาและพบว่า ปัญหาหลักคือการใช้เวลานานกว่ากระบวนการอื่นๆ ในการค้นหาสินค้า ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดเก็บสินค้าในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม กล่าวคือ กลุ่มสินค้าที่มีการหมุนเวียนเร็วไม่ได้ถูกแบ่งกลุ่ม และไม่ได้ถูกกำหนดให้อยู่ในตำแหน่งใกล้ทางเข้าและออกของคลังสินค้า ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงทำการจัดเก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ประเภท (SKUs) และปริมาณของสินค้าทั้งหมดในคลังสินค้า เพื่อคัดเลือกก๊อกนํ้าเป็นกลุ่มสินค้าที่มีการหมุนเวียนเร็ว 2) แผนผังชั้นวางสินค้าและตำแหน่งจัดเก็บ เพื่อแบ่งโซนแบบคงที่และตำแหน่งจัดเก็บสินค้าแบบคงที่สำหรับกลุ่มก๊อกนํ้ำ 77 SKUs ร่วมกับทฤษฎีเอบีซี (ABC theory) 3) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของพนักงาน เพื่อสร้างแผนภาพการไหลของข้อมูลเชิงตรรกะ (Logical Data Flow Diagram) สำหรับการประเมินเวลาที่ใช้ในกระบวนการหยิบสินค้าและผลิตภาพของพนักงาน ด้วยโปรแกรมไพ ธอน (Python program) ซึ่งพบว่า การจัดเก็บสินค้าในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถลดเวลาที่ใช้ในการหยิบสินค้าลง 32.50% และสามารถเพิ่มผลิตภาพของพนักงานขึ้น 48.17%


คำสำคัญ

ABC analysisPicking processPython programStorage location


อัพเดทล่าสุด 2022-23-08 ถึง 23:05